24

Dental Implant การทำรากฟันเทียมคืออะไร ดียังไง คุ้มค่าที่จะทำไหม

Dental Implant at DDC

    รากเทียมทำจากวัสดุโลหะไททาเนียมซึ่งได้รับการเคลือบผิว หรือกัดผิวด้วยกรดและเทคนิคพิเศษ จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเนี่ยวนำเซลกระดูกทำให้เกิดการเชื่อมต่อของกระดูกขากรรไกรกับตัวรากเทียมที่ เมื่อเกิดการเชื่อมกันของกระดูกกับตัวรากเทียมแล้ว รากเทียมก็จะคงอยู่ในช่องปากของคนไข้ตลอดไป 

การฝังรากฟันเทียมจะเเตกต่างกับการทำสะพานฟัน โดยการทำสะพานฟันเราจะต้องสูญเสียเนื้อฟันดีๆที่อยู่ติดกับช่องว่าง เพื่อใช้เป็นฟันหลักในการยึดสะพานฟัน นอกจากนี้การดูแลทำความสะอาดสะพานฟันยังทำได้ยากกว่ารากฟันเทียม 

      บทความต่อไปนี้จะเป็นการรวบรวมเรื่องราวของการทำรากฟันเทียมก่อนที่คนไข้จะตัดสินใจทำรากฟันเทียม แนะนำให้อ่านให้ครบทุกหัวข้อนะคะ นอกจากจะมีข้อมูลที่ควรทราบแล้วที่ Dental Design Center เรายังมีโปรโมชั่นในการทำรากฟันเทียมในราคาสุดพิเศษ

การฝังรากฟันเทียมคืออะไร 

 การฝังรากฟันเทียมคือ การทดแทนรากฟันที่สูญเสียไปโดยการใช้วัสดุไทเทเนี่ยม ซึ่งทั้งเป็นวัตถุที่มีลักษณะคล้ายฟันธรรมชาติมากที่สุด และเข้ากับร่างกายของมนุษย์ได้อย่างดี ด้วยการผ่าตัดฝังรากเทียมลงในตำแหน่งขากรรไกรของคนไข้ เพื่อทดแทนฟันและรากฟันที่สูญเสียไปของคนไข้  โดยรากฟันเทียมจะทำจากไทเทเนี่ยม(Titanium) หรือเซอร์โคเนียม(โลหะสีขาว) ซึ่งรากฟันเทียมได้รับการออกแบบเป็นพิเศษทั้งรูปร่างและพื้นผิวทำให้มีความเข้ากันได้กับร่างกายมนุษย์เมื่อทำการฝั่งรากฟันเทียมลงไปในกระดูกขากรรไกรเซลล์ของกระดูกจะมายึดกับผิวของรากฟันเทียมทำให้เกิดกระบวนการยึดติด หรือเรียกว่า “Osseointegrytion” เมื่อรากฟันเทียมติดแน่นกับกระดูกขากรรไกรแล้ว รากฟันเทียมจะทำหน้าที่แทนรากฟันธรรมชาติเพื่อรองรับฟันปลอม ครอบฟัน หรือสะพานฟัน ปัจจุบันการใส่รากฟันเทียมถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งเลยของการทำฟันปลอม 

      เมื่อเทียบกับการทำฟันปลอมชนิดอื่น ๆ อาจจะพบปัญหาเรื่องความไม่เป็นธรรมชาติ มีการเคี้ยวอาหารที่ติดขัดอยู่บ่อยๆ รากฟันเทียมเป็นทันตกรรมฟันปลอมแบบติดแน่นที่มีคุณสมบัติเหมือนฟันธรรมชาติ จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด ที่ช่วยทำให้ฟันมีประสิทธิภาพเทียบเท่าฟันตามธรรมชาติ ทำให้ทานอาหารได้ราบรื่นกว่าไม่ต้องวุ่นวายถอดฟันปลอม และดูแลทำความสะอาดได้ง่ายไม่ต่างจากฟันแท้ตามธรรมชาติของเรา 

image 2

รากฟันเทียมช่วยอะไรได้บ้าง

รากฟันเทียมเป็นทางเลือกที่มีประโยชน์ในการรักษาและดูแลสุขภาพช่องปาก ซึ่งมีผลดีต่อสุขภาพในช่องปากดังนี้

  • ป้องกันฟันล้ม: รากฟันเทียมช่วยป้องกันฟันที่อาจล้มหรือเอียงเมื่อฟันเดิมสูญเสียไป ซึ่งสามารถช่วยรักษาการจัดเรียงฟันให้เป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้องได้
  • รับแรงบดเคี้ยว: รากฟันเทียมช่วยรับแรงบดเคี้ยวที่เกิดขึ้นขณะการรับประทานอาหาร เพื่อลดการกระทบและแรงกระแทกที่มีต่อฟันจริง
  • ช่วยในการออกเสียง: รากฟันเทียมที่ถูกติดตั้งอย่างถูกต้องสามารถช่วยเพิ่มความชัดเจนในการออกเสียง เช่น ในกรณีของฟันหน้า
  • สร้างบุคลิกภาพที่ดี: รากฟันเทียมมีความใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ ทำให้มีความสมมาตรกับรูปร่างช่วงปากและใบหน้า ซึ่งสามารถช่วยสร้างบุคลิกภาพที่ดีและเสถียรในการประสานงานในทางสังคม
  • เพิ่มความมั่นใจ: รากฟันเทียมช่วยให้คนไข้กลับมามีความมั่นใจในการพูด ยิ้ม เนื่องจากการสูญเสียฟันสามารถส่งผลให้ความมั่นใจลดลง
  • ปรับรูปร่างใบหน้า: เมื่อใส่ฟันหลังด้วยรากฟันเทียม อาจช่วยเพิ่มความสูงใบหน้าให้เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ริ้วรอยบนใบหน้าลดลง ทำให้ดูอ่อนเยาว์ขึ้น
  • ส่งเสริมการย่อยอาหารและสุขภาพร่างกาย: การใส่รากฟันเทียมสามารถช่วยให้คุณสามารถรับประทานอาหารได้ปกติ และระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างถูกต้อง ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายและความเข้มแข็งของร่างกาย

หลักการทำงานของรากฟันเทียม

รากฟันเทียมเป็นแนวคิดทางทันตกรรมที่มีการสร้างโครงสร้างฟันเทียมเพื่อแทนที่ฟันที่สูญเสียไป รากฟันเทียมมีหลักการทำงานที่หลากหลายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และเรื่องที่ต้องการแก้ไข แต่หลักการทำงานหลักๆ คือการสร้างโครงสร้างที่มีความคล้ายคลึงกับรากฟันแท้เพื่อรับแรงบดและการใช้งานที่ปกติของฟันแท้

รากฟันเทียมทำจากอะไร 

ส่วนประกอบของรากฟันเทียมแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 

1. ส่วนที่ฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร หรือรากเทียม (Fixture) ทำมาจากโลหะไทเทเนียม (Titanium) มีลักษณะคล้ายสกรู ทำหน้าที่เป็นรากฟันเชื่อมติดกับกระดูกขากรรไกร ช่วยในการยึดติดของกระดูกขากรรไกรเปรียบเสมือนรากฟัน และยังสามารถยึดติดได้อย่างแนบแน่นโดยไม่ทำให้เนื้อเยื่ออักเสบ และไม่เกิดผลข้างเคียงใดๆ

2. เดือยรองรับครอบฟัน (Abutment) อยู่ตรงกลางระหว่างรากฟันและตัวครอบฟัน ทำจากวัสดุไทเทเนียมหรือเซรามิก ช่วยยึดรากฟันกับที่ครอบฟันให้มั่นคง เปรียบเสมือนโครงสร้างแกนฟันหลัก

3. ครอบฟัน (Crown) เป็นส่วนตัวฝังที่อยู่ด้านบนของเหงือก ทำมาจากเซรามิก (Porcelain) ตัวฟันที่ทำจากเซรามิก จะมีสีเหมือนฟันและลักษณะคล้ายฟันธรรมชาติของมนุษย์ 

image

รากฟันเทียมที่ เด็นทัลดีไซน์เซ็นเตอร์ พัทยา เลือกใช้

1. Straumann TitaniumSLA – ถูกผลิตจากไทเทเนียม medical grade ที่มีความแข็งแรงและคงทนต่อการใช้งานในช่วงเวลายาวนาน

2. Straumann Roxolid – มีการเสริม Zirconia(เซอร์โคเนีย) ทำให้เป็น TiZr หรือไทเทเนียมอัลลอยด์ ทำให้รากเทียมมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ

3. Straumann TiSLActive – เป็นรากเทียมรุ่น TitaniumSLAที่เคลือบ ACTIVE agent ทำให้รากเทียมยึดติดกับกระดูกดีขึ้น เร็วขึ้น 

4. Straumann Roxolid Active – เป็นรากเทียมรุ่นท๊อป คือเป็นรุ่น Roxolid ที่มีความแข็งแรงมากและเคลือบ Active agent ทำให้ยึดติดกับกระดูกได้เร็ว

ทำไมต้องทำรากฟันเทียมที่เด็นทัลดีไซน์เซ็นเตอร์ พัทยา

        เพราะเรามีทันตแพทย์ เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านทันตกรรมรากฟันเทียม เเละมีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี เป็นทันตแพทย์ประจำแบบ Full Time ซึ่งสามารถดูแลรับผิดชอบการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนถึงการดูแลรากเทียมในระยะยาว หรือแม้กระทั่งการทดแทนฟันด้วยรากฟันเทียมทั้งปาก

        จากการศึกษาวิจัยค้นคว้า และเอกสารทางวิชาการต่างๆได้กล่าวถึงประสิทธิภาพ ของการทำรากเทียมว่าสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเสมือน ฟันธรรมชาติของมนุษย์ได้มากที่สุด และยังมีลักษณะเหมือนฟันธรรมชาติมากจนยากที่จะสังเกตได้ และอายุการใช้งานยังอยู่คงทนได้นานกว่าการทำฟันปลอม หรือการทำสะพานฟัน นอกจากนี้การดูแลรักษาความสะอาดของรากเทียมยังง่ายกว่าและไม่ต้องสูญเสียเนื้อฟันดีๆอีกด้วย นอกจากนี้ยังพบความสำเร็จจากการทำรากฟันเทียมมีมากกว่า 90% 

        ซึ่งการทำรากฟันเทียมนั้นสามารถทำได้กับทุกคนที่สูญเสียฟันแท้ไป โดยเฉพาะในผู้สูงอายุส่วนใหญ่แล้ว จะแนะนำให้ผู้ที่ไม่มีฟันธรรมชาติ หรือผู้ที่สูญเสียฟันไป ควรทำการใส่รากเทียมให้เร็วที่สุด เนื่องจากว่าในบริเวณนั้นหากมีการสูญเสียฟันธรรมชาติออกไปนานๆ มักจะเกิดการละลายของกระดูก และหากไม่รีบรักษาบริเวณนั้น อาจจะทำให้ไม่เหลือกระดูกเพียงพอที่จะทำการใส่รากฟันเทียมได้ นอกจากนี้การปล่อยให้มีช่องวางจากการถอนฟันนานๆก็จะส่งผลให้ฟันข้างๆมีการเคลื่อนที่ได้ รวมถึงเป็นสาเหตุของการเกิดฟันล้มอีกด้วย

 สนใจติดต่อรับคำปรึกษาออนไลน์ฟรี

dentist pattaya #dental pattaya #dental clinic pattaya #good dentist pattaya #dental implant pattaya #invisalign pattaya #braces pattaya

รากฟันเทียมแตกต่างจากฟันปลอมชนิดอื่นอย่างไร

  • ความรู้สึกและการบดเคี้ยว: รากฟันเทียมมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากขึ้น ทำให้ความรู้สึกในการบดเคี้ยวและการรับประทานอาหารมีความเชื่อมโยงกับฟันแท้มากกว่าฟันปลอมอื่น ๆ ซึ่งช่วยให้การบดเคี้ยวดูสะดวกและเป็นธรรมชาติมากขึ้น
  • ความน่าเชื่อถือและความแข็งแรง: รากฟันเทียมถูกฝังในกระดูกขากรรไกร เชื่อมต่อกับโครงสร้างของปาก ทำให้มีความแข็งแรงและเชื่อถือได้มากกว่าฟันปลอมชนิดอื่น ๆ ที่อาจต้องใช้เทคนิคการยึดหรือกาวเพื่อให้ติดแน่นกับฟันแท้
  • การสวมใส่และการถอด: รากฟันเทียมถูกติดตั้งแบบถาวรและไม่ต้องถอดออก เมื่อรากฟันเทียมถูกสร้างขึ้นและติดตั้งแล้ว ฟันที่วางบนรากฟันเทียมจะมีความน่าเชื่อถือและคงทน ในขณะที่ฟันปลอมอื่น ๆ อาจต้องถอดออกเมื่อไม่ใช้งาน
  • ความสวยงามและความเหมือนกับฟันธรรมชาติ: รากฟันเทียมมีความใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติทั้งในรูปร่างและสี เพื่อให้มีความสวยงามและเข้ากับบุคลิกภาพของผู้รับบริการ

การทำรากฟันเทียมมีกี่รูปแบบ

รากฟันเทียมมี 3 แบบ 

1. การรากฟันเทียมแบบซี่เดียว (Single Dental Implant)

       การทำรากฟันเทียมแบบซี่เดียวนั้นจะเป็นการชดเชยฟันที่หายไป  ซึ่งวิธีนี้จะทำในกรณีที่คนไข้สูญเสียฟันไปเพียง1 ซี่

image 77

“ในกรณีที่คนไข้มีฟันบางซี่ที่ถูกถอนออกไป การใส่รากฟันเทียมทดแทนทันทีหลังถอนฟันก็สามารถทำได้” 

image 78

การปลูกรากฟันเทียมทันทีหลังถอนฟัน (Immediate Implant Placement)

      เป็นวิธีที่คนไข้สามารถเข้ามารับบริการการปลูกรากฟันเทียมได้ทันที หลังจากที่ได้รับการถอนฟัน จากนั้นจะรอประมาณ 2-3 เดือน เพื่อให้กระดูกเชื่อมกับรากฟันเทียมที่ปลูกไป แล้วจึงทำการครอบฟันสวมลงบนรากฟันเทียม

การปลูกรากฟันเทียมทันทีหลังถอนฟันพร้อมกับใส่ครอบฟันชั่วคราว (Immediate Implant Loading) 

       เป็นการปลูกรากฟันเทียมที่ทันตแพทย์จะทำการยึดติดครอบฟันให้ทันที แบบชั่วคราวหลังได้รับการปลูกรากฟันเทียม ซึ่งคนไข้สามารถมีฟันสำหรับใช้งานได้เลยทันที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของกระดูกขากรรไกรของคนไข้ด้วยว่าสามารถทำได้ไหม ซึ่งขึ้นอยู่ที่ดุลยพินิจของทันตแพทย์ผู้รักษา 

2. การทำรากฟันเทียมแบบหลายซี่ (Implant-supported Bridge)

       การทำรากฟันเทียมหลายซี่ที่อยู่ติดกัน เรียกว่าการติดสะพานฟัน ซึ่งวิธีนี้จะมีการเชื่อมต่อระหว่างรากฟันเทียมและสะพานฟัน เพื่อชดเชยฟันที่หายไปตั้งแต่ 2 ซี่ขึ้นไปที่อยู่ติดกัน โดยใช้สะพานฟันเป็นตัวปิดช่องว่างระหว่างกลางของฟันซี่ที่หายไป ข้อดีของการทำรากฟันเทียมแบบหลายซี่คือ รากเทียมไม่จำเป็นต้องไปยึดติดกับฟันซี่อื่น

image 79

3. การทำรากฟันเทียมทั้งปาก (Implant-Retained Denture)

  ในกรณีที่คนไข้สูญเสียฟันธรรมชาติทั้งปาก คุณหมอจะทำรากฟันเทียมทั้งปากให้กับคนไข้ซึ่งจะถูกวางเรียงบนเหงือกของคนไข้เพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป ไม่ว่าจะด้านบน หรือด้านล่าง วิธีนี้ยังช่วยรักษาโครงหน้าเดิมของคนไข้ไว้ได้ และการปลูกรากฟันเทียมยังช่วยรักษากระดูกบริเวณนั้นไม่ให้ละลายและคงสภาพเดิมไว้ ในการใช้รากเทียมเพื่อบูรณะทั้งขากรรไกร ทำได้ดังนี้

       All-on-4 (การทดแทนทันทีด้วยรากฟันเทียมสี่ราก): การใช้รากฟันเทียมสี่รากเพื่อยึดติดกับฟันปลอมแบบไฮบริด (Hybrid acrylic denture) โดยกระบวนการนี้จะทำทันทีหลังจากผ่าตัดรากฟันเทียม ซึ่งแพทย์จะฝังฟันปลอมที่เตรียมไว้ลงบนรากฟันเทียม ทำให้คนไข้ได้ฟันปลอมที่ติดแน่นและสามารถใช้งานได้ทันทีหลังการผ่าตัดรากฟันเทียม

image 1

3.1 การใส่รากฟันเทียมเพื่อช่วยในการยึดฟันปลอมทั้งปาก (Implant-retained Overdenture)

image 80

      การมีรากเทียมเพื่อรองรับฐานฟันปลอม ทำให้คนไข้สามารถลดขนาดของฐานฟันปลอมได้  และยังทำให้ฟันปลอมแน่นขึ้นไม่หลุดง่าย เกิดความรำคาญย้อยลง เพิ่มความสะดวกสบายขณะสวมใส่และยังสามารถเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งวิธีนี้มีข้อเสีย คนไข้จะต้องถอดฟันปลอมออกเพื่อทำความสะอาดหลังรับประทานอาหาร และก่อนนอน

3.2 การใส่รากเทียมเพื่อทดแทนฟันทั้งปากชนิดติดแน่น (Full Mouth Fixed Implant – supported Prostheses)

       การปลูกรากฟันเทียมเพื่อรองรับสะพานทั้งปาก ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน เป็นการทดแทนฟันที่สูญเสียไปทั้งหมด หรือ ทั้งขากรรไกร ด้านบน หรือด้านล่าง นั้น สามารถทำได้ด้วยการปลูกรากฟันเทียมเพื่อรองรับสะพานฟัน ซึ่งวิธีนี้มีความสวยงาม และมีประสิทธิภาพเทียบเท่าฟันจริงตามธรรมชาติ วิธีนี้จะเป็นการทดแทนแบบถาวร มีความแข็งแรงทนทานเมื่อเทียบกับการใส่ฟันปลอม การรักษาด้วยรากฟันเทียมทั้งปากจึงเสมือนได้ฟันแท้ใหม่อีกครั้ง

ประเภทของรากฟันเทียม 

ปัจจุบันการทำรากฟันเทียมแบ่งเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ

1. Conventional Implant : แบบนี้เรียกการฝังรากฟันเทียมแบบทั่วไป วิธีนี้เป็นวิธีที่เเน่นอนที่สุด แต่มีข้อจำกัดทางด้านเวลา เพราะมีการรักษา 2 ช่วงเวลา เมื่อทันตแพทย์ฝังรากเทียมแล้วจะต้องรอให้รากเทียมยึดติดกับกระดูกซึ่งใช้เวลา 3-6 เดือน หลังจากนั้นถึงจะติดฟันปลอมหรือครอบฟันเข้ากับรากฟันเทียมของคนไข้ได้ ซึ่งคนไข้บางรายอาจจะใช้เวลามากกว่านั้นหากมีการถอนฟันร่วมด้วย

2. Immediate lmplant : แบบนี้จะเรียกการฝังรากฟันเทียมแบบทันที ใช้ระยะเวลาสั้น และประหยัดเวลากว่าเเบบแรก หลังจากทันตแพทย์ถอนฟันเสร็จจะทำการใส่รากฟันเทียมเลยทันที ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะสมกับคนไข้ที่มีสภาพกระดูกขากรรไกรที่สมบูรณ์ สำหรับตำแหน่งฟันที่เหมาะสมกับวิธีนี้คือ ฟันหน้า และฟันกรามน้อย และต้องมีปริมาณกระดูกที่เพียงพอให้รากฟันเทียมยึดติดได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นทันตแพทย์จะเป็นผู้ประเมินความเป็นไปได้ในเเต่ละเคส 

3. Immediate loaded Implant : แบบนี้คือการใส่รากฟันเทียม ร่วมกันกับการทำฟันครอบ ซึ่งหลักจากทำการฝังรากฟันเทียมเเล้ว ทันตแพทย์จะมีการทำครอบฟัน โดยครอบลงไปที่รากฟันเทียมทันทีในวันนั้นเลย ซึ่งรูปแบบนี้จะค่อนข้างซับซ้อนพอสมควร แต่มีข้อดีทางด้านระยะเวลา ซึ่งรูปแบบนี้เหมาะสมกับคนไข้ที่มีสภาพกระดูกขากรรไกรดี ทั้งนี้ทันตแพทย์จะเป็นผู้ประเมินความเป็นไปได้ในเเต่ละเคส 

ระยะเวลาในการใส่รากเทียมแบ่งได้ ดังนี้

  • Conventional Implant Placement (การฝังรากฟันเทียมแบบมาตราฐาน): วิธีนี้เป็นการใช้รากฟันเทียมในการทดแทนฟันหนึ่งซี่หรือหลายซี่จนถึงทั้งปาก กระบวนการจะแบ่งเป็นสองช่วงเวลา หลังจากถอนฟันออกแล้วอย่างน้อยสามเดือน แพทย์จะทำการตรวจและทำเอกซเรย์สามมิติ (CBCT) เพื่อประเมินสภาพกระดูกขากรรไกร จากนั้นจะทำการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม หลังจากฝังรากฟันเทียมเสร็จแล้ว จะต้องรอประมาณ 3-6 เดือนเพื่อให้เกิดการยึดติดรากฟันเทียมและกระดูกขากรรไกรอย่างเต็มที่ จากนั้นจะทำการสร้างครอบฟัน-ฟันเทียม หรือฟันปลอมยึดรากฟันเทียมตามที่ต้องการ
  • Immediate Implant Placement (การฝังรากฟันเทียมทันทีหลังถอนฟัน): วิธีนี้เป็นการใส่รากฟันเทียมทันทีหลังจากถอนฟันเดิมออก จะลดการต้องผ่าตัดมากขึ้นและลดเวลาในการรักษา ช่วยให้ได้ฟันในเวลาที่เร็วขึ้น และลดความไม่สะดวกจากการมีช่วงเวลาที่ไม่มีฟัน วิธีนี้สามารถทำได้ทุกบริเวณในปาก แต่จะขึ้นกับสภาวะและเงื่อนไขของแต่ละบุคคล แพทย์จะพิจารณาเห็นความเหมาะสมก่อนที่จะดำเนินกระบวนการ
  • Immediate Loaded Implant (การใส่ฟันทันทีหลังจากที่ใส่รากฟันเทียมทันที): วิธีนี้เป็นการใส่ฟันทันทีหลังจากที่รากฟันเทียมถูกฝัง ในกรณีเช่นการทำ All-on-4 ที่รากฟันเทียมถูกฝังและทันทีต่อฟันปลอมที่จะใช้งานได้ทันที วิธีนี้ช่วยให้ได้ฟันทันทีโดยไม่ต้องรอเวลาให้ฟันฟื้นตัว แต่ยังขึ้นกับสภาวะและความเหมาะสมของบริเวณที่รักษา

ระยะเวลาที่ใส่จะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แพทย์จะต้องวางแผนและประเมินความเหมาะสมเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด

การเตรียมตัวก่อนทำรากฟันเทียม

1.  ก่อนที่จะเริ่มรักษาด้วยรากฟันเทียม ควรไปรับการตรวจและประเมินโดยทันตแพทย์ที่เชี่ยวชาญในสาขานี้ เพื่อตรวจสอบสุขภาพช่องปาก หากมีโรคประจำตัวหรือมียาที่ต้องรับประทานเป็นประจำควรแจ้งทันตแพทย์ให้ทราบก่อนเข้ารับการรักษาการรักษา

2. ทำการเลือกรากฟันเทียมที่เหมาะสม ทันตแพทย์จะเลือกชนิดของรากฟันเทียมที่เหมาะสมกับคุณภาพของกระดูกขากรรไกรและความต้องการของคนไข้ การเลือกใช้รากฟันเทียมที่เหมาะสมจะช่วยให้การรักษามีผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น

3. วางแผนการรักษาการรักษารากฟันเทียมจะต้องมีการวางแผนร่วมกับทันตแพทย์ โดยการกำหนดปฏิทินการรักษา เรื่องราคา และขั้นตอนทั้งหมดในการทำรากฟันเทียม เพื่อให้คนไข้ทราบถึงขั้นตอนและระยะเวลาของการรักษา

4. ทันตแพทย์จะประเมินความเหมาะสมของรากฟันเทียมที่เลือกใช้ในแผนการรักษา เพื่อให้มั่นใจว่าการรักษาที่เลือกนั้นจะมีประสิทธิภาพและผลการรักษาที่สุด

5. การเตรียมตัวก่อนทำรากฟันเทียมเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้การรักษาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยในระยะยาว เพราะฉนั้นควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ก่อนเข้ารับการผ่าตัดรากฟันควรพักผ่อนให้เต็มที่ และงดอาหารเป็นเวลา 12 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด 

เทคโนโลยีการทำรากฟันเทียมที่ เด็นทัลดีไซน์เซ็นเตอร์ พัทยา เราเลือกใช้คือ 

  • Digital 3D CBCT (Cone Beam Computed Tomography) เป็นเทคโนโลยีการสแกนระบบภาพของกระดูกและโครงสร้างภายในในรูปแบบ 3 มิติ ที่มีการใช้งานหลักๆในด้านทันตกรรมคือในการวางแผนการรักษาและการวินิจฉัยอาการ เพื่อช่วยในการรักษา ดังนี้
  • วางแผนการรักษา: CBCT 3D ช่วยในการตรวจวัดและประเมินโครงสร้างภายในช่องปากและกระดูกขากรรไกร ทันตแพทย์สามารถดูภาพตัดขวางของกระดูกขากรรไกร เพื่อประเมินตำแหน่งของเส้นประสาท ตำแหน่งของเส้นเลือด และโพรงอากาศไซนัส ได้อย่างชัดเจน ซึ่งช่วยในการวางแผนการรักษาเช่นการปลูกรากฟันเทียม การผ่าตัดฟันคุดและฟันฝัง เป็นต้น
  • วินิจฉัยอาการ: CBCT 3D ช่วยในการวินิจฉัยอาการและปัญหาทันตกรรมได้อย่างแม่นยำ เช่น การตรวจหาฟันที่ขาดหายไป, การวินิจฉัยโรครากฟัน, หรือการตรวจสอบความผิดปกติในโครงสร้างภายในช่องปาก
  • วางแผนการผ่าตัด: ในกรณีที่ต้องมีกระบวนการผ่าตัด เช่น การฝังรากฟันเทียม ภาพ CBCT 3D ช่วยในการวางแผนและนำทางการผ่าตัดอย่างแม่นยำ เพื่อลดความผิดพลาดและเพิ่มความปลอดภัยในการผ่าตัด

CBCT 3D เป็นเทคโนโลยีทันตกรรมที่มีประสิทธิภาพในการปรับปรุงคุณภาพการดูแลผู้ป่วยและประสิทธิภาพของการรักษาในด้านทันตกรรม ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่แม่นยำและปลอดภัยมากขึ้น

CBCT SCAN

ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม

image 3

1. เมื่อคนไข้เข้ามาปรึกษาการทำรากฟันเทียม ทันตแพทย์จะตรวจสอบสภาพช่องปากอย่างละเอียด ด้วยการ X-ray และ CT Scan เพื่อประเมินสภาพของกระดูก และเนื้อเยื่อเหงือกบริเวณที่จะทำการปลูกรากฟันเทียม ได้อย่างแม่นยำ เพื่อที่จะวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับตำแหน่งของรากฟันเทียม

2. เมื่อถึงวันผ่าตัดฝังรากเทียม จะมีการให้ยาชาเฉพาะที่ การรักษาในแต่ละครั้งจะอยู่ที่ 1 ชั่วโมง

3. เมื่อผ่าตัดฝังรากเทียมเสร็จแล้วแพทย์จะให้คนไข้พักประมาณ 3-6 เดือน เพื่อให้รากฟันเทียมเชื่อมติดกับกระดูกระหว่างนี้ทันตแพทย์จะนัดคนไข้มาตรวจฟันเป็นระยะๆ และหลังจากเย็บแผล 7-10 วัน ทันตแพทย์จะนัดมาทำการตัดไหม

4. หลังจากที่รากฟันเทียมยึดติดกับกระดูกแล้ว ทันตแพทย์จะนัดมาทำครอบฟัน หรือใส่ฟันปลอม โดยทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปากเพื่อส่งแล็บทำครอบฟัน หรือฟันปลอม

5. เมื่อทันตแพทย์ใส่ครอบฟันหรือฟันปลอมแล้ว จะมีการนัดติดตามอาการเรื่อยๆ

f8caeabe b5e4 4567 bef7 124b0bfb3001

อาการหลังทำรากฟันเทียม

        คนไข้มีอาการปวดบวมหลังการผ่าตัดซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ 3-4 วัน วิธีแก้ให้รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง หรือประคบเย็น แต่ห้ามอมน้ำแข็งเด็ดขาด

 **กรณีที่คนไข้พบอาการผิดปกติหลังการผ่าตัด 1-2 วัน เช่น มีหนอง มีไข้ มีอาการชาบริเวณ คาง ริมฝีปาก ลิ้น หรือมีภาวะเลือดออกไม่หยุด ให้กลับมาพบทันตแพทย์โดยทันทีเพื่อตรวจสอบ

วิธีดูแลหลังผ่าตัดปลูกรากฟันเทียม

1. รับประทานอาหารที่เป็นของเหลวก่อนในช่วงแรก เพื่อหลีกเลี่ยงเศษอาหารไปติดบนเเผล 

2. หลีกเลี่ยงการกัดหรือเคี้ยวอาหารที่มีลักษณะแข็ง ในช่วง 1-2 เดือนแรกเพื่อป้องกันแรงกระแทกที่เกิดจากการฝังรากฟันเทียมเข้าไป

3. หลีกเลี่ยงอาหารร้อนจัดหรือเย็นจัดในช่วง 1-2 วันเเรกหลักจากการผ่าตัด 

4. รับประทานยาให้ตรงตามเวลา และปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด

5. หลรกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

6. งดออกกำลังกายหนักๆ 7-10 วันหรือจนกว่าจะตัดไหม

7. ดูแลทำความสะอาดช่องปากอย่างสม่ำเสมอ 

image 6

วิธีการดูแลรักษารากฟันเทียม

1. ดูแลรักษาความสะอาดเหมือนฟันปกติ 

2. พบทันตแพทย์ตามนัดทุกครั้ง และทำตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

3. ไม่รับประทานอาหารที่แข็ง หรือเหนียวจนเกินไป ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้รากฟันเทียมหลุดได้ 

4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพช่องปากได้ เช่น เหงือกอักเสบ ฟันผุ มะเร็งในช่องปาก และส่งผลเสียต่อการฝังรากฟันเทียมด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อให้รากฟันเทียมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 ข้อดีของการฝังรากฟันเทียม

  • มีลักษณะคล้ายธรรมชาติมากที่สุด และเข้ากับร่างกายมนุษย์ได้อย่างดี 
  • การฝังรากฟันเทียมคนไข้จะไม่พบปัญหากวนใจเหล่านี้เลย ที่ใส่ฟันปลอมแล้วทำให้เจ็บ นูน ยื่นออกมา 
  • ดูแลทำความสะอาดง่าย
  • พูดหรือออกเสียงได้ชัดเจนอย่างธรรมชาติ
  • ไม่ต้องกรอฟัน เพราะการฝังรากฟันเทียมสามารถเจาะลึกลงในฟันที่จะแทนที่ได้เลย
  • มีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหาร ได้เทียบเท่าฟันจริง
  • เพิ่มความมั่นใจ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • คงทนอยู่ได้ยาวนาน 10-20 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแล
  • มีความปลอดภัยสูง 

ใครบ้างที่เหมาะสมกับการทำรากฟันเทียม

  • ผู้ที่สูญเสียฟันแท้จากอุบัติเหตุ
  • ผู้ที่มีฟันแตกหักซึ่งทันตแพทย์ได้พิจารณาว่าไม่สามารถรักษาได้อีกต่อไป
  • ผู้ที่ต้องการคืนความมั่นใจให้กับตนเอง
  • ผู้ที่มีปัญหาในการบดเคี้ยวอาหาร
  • ผู้ที่ทำฟันปลอมแบบถอดได้ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
  • ผู้ที่ใส่ฟันปลอมทั้งปากแต่ประสบกับปัญหากระดูกขากรรไกรล่างยุบตัวลง ทำให้ฟันปลอมหลุดได้ง่าย
  • ผู้ที่ต้องการใส่ฟันเพียงซี่เดียว โดยฟันข้างเคียงยังอยู่ในสภาพดี

ถอนฟันหรือสูญเสียฟันไป แล้วไม่ใส่ฟัน จะเกิดผลอย่างไร

เมื่อเรามีการสูญเสียฟันและไม่ได้รับการใส่ฟันใหม่ตามเวลาที่เหมาะสม ผลกระทบทางสุขภาพช่องปากและอาจเกิดขึ้นได้ดังนี้

  • การล้มของฟันข้างเคียง: ฟันที่อยู่ข้างเคียงกับช่องที่สูญเสียฟันอาจล้มเข้ามาเติมช่องว่างที่เกิดขึ้น นั่นอาจทำให้ฟันซี่ล้มหรือเอียง ทำให้การรักษาฟันที่สูญเสียกลายเป็นภาระที่ซับซ้อนขึ้น เนื่องจากเศษอาหารอาจติดบริเวณนั้นได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ ปริทันต์อักเสบ และอาจเป็นสาเหตุให้ต้องถอนฟันอื่น ๆ ออกเพื่อแก้ไขปัญหานี้
  • การเคลื่อนตัวของฟันคู่สบ: ฟันคู่สบที่ไม่ได้รับการปิดช่องว่างจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ช่องว่างที่เกิดจากการสูญเสียฟัน อาจทำให้ฟันยาวขึ้นและรากฟันโผล่ออกมาในช่องปาก ทำให้เศษอาหารติดและเกิดความผิดปกติในเหงือก อาจทำให้เสียวฟันและอาจเป็นสาเหตุในการสูญเสียฟันที่เกิดขึ้นในภายหลัง
  • การเสื่อมสภาพของฟันที่เหลือ: ฟันที่เหลืออยู่อาจต้องรับแรงบดเคี้ยวเพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนจากฟันที่สูญเสียไป นั่นอาจทำให้ฟันเสียเร็วขึ้นและเสี่ยงต่อการแตกหัก
  • ผลกระทบต่อใบหน้า: การสูญเสียฟันอาจทำให้เกิดริ้วรอยบนใบหน้า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางรูปร่างและโครงสร้างของปาก 
  • การเสียความมั่นใจและอุปสรรคในการพูด: การสูญเสียฟันอาจทำให้เสียความมั่นใจในการพูดและการสื่อสาร เนื่องจากฟันมีบทบาทสำคัญในการออกเสียงและการสร้างเสียงที่ชัดเจน นี่อาจส่งผลต่อการสร้างบุคลิกภาพในสังคม

ผู้ที่ไม่ควรทำรากฟันเทียม

  • เด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี เนื่องจากกระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ 
  • ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ควรคลอดบุตรก่อน
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้ โรคมะเร็ง โรคลูคิเมีย ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ป่วยที่มีโรคเหล่านี้ควรเข้ามาปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อรับการตรวจสอบและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

 สนใจติดต่อรับคำปรึกษาออนไลน์ฟรี

dentist pattaya #dental pattaya #dental clinic pattaya #good dentist pattaya #dental implant pattaya #invisalign pattaya #braces pattaya

คำถามที่พบบ่อยกับการทำรากฟันเทียม

หากคนไข้กำลังหาข้อมูลที่จะรักษารากฟันเทียมในพัทยา เราขอเสนอเด็นทัลดีไซน์เซ็นเตอร์ พัทยา เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งของคุณ เรามั่นใจในการบริการ ความสะอาดที่ได้มาตรฐานระดับสากล และทันตแพทย์ที่ชำนาญด้านรากฟันเทียมโดยเฉพาะ 

หากคนไข้กำลังหาข้อมูลที่จะรักษารากฟันเทียมในพัทยา เราขอเสนอเด็นทัลดีไซน์เซ็นเตอร์ พัทยา เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งของคุณ เรามั่นใจในการบริการ ความสะอาดที่ได้มาตรฐานระดับสากล และทันตแพทย์ที่ชำนาญด้านรากฟันเทียมโดยเฉพาะ 

โดยส่วนใหญ่ทันตแพทย์จะแนะนำให้คนไข้จัดฟันให้เสร็จก่อน แล้วจึงรักษารากฟันเทียมทีเดียว เนื่องจากรากฟันเทียมนั้นไม่สามารถที่จะเคลื่อนตัวได้เหมือนฟันธรรมชาติ ทันตแพทย์จึงแนะนำให้จัดฟันก่อน

ไม่อยากอย่างที่คิด การดูแลรักษารากฟันเทียมนั้นสามารถดูแลรักษาได้เหมือนกันกับฟันธรรมชาติ เพียงเเต่มีข้อห้ามเเละข้อควรระวังคือ การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้ กระดูกและเนื้อเยื่อที่อยู่รอบรากเทียมอักเสบและเกิดอาการเหงือกหล่นได้ ซึ่งจะส่งผลให้รากฟันเทียมหลุดได้

ไม่เจ็บอย่างที่คิด เพราะการทำรากฟันเทียมจะทำภายใต้ยาชา จึงรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อยขณะฉีดยาชา ซึ่งอาการเจ็บหลังจากผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับบุคคลซึ่งแตกต่างกันไป เมื่อรับประทานยาแก้ปวดก็สามารถลดอาการปวดได้แล้ว

ปกติการรักษารากฟันเทียมจะใช้เวลาเพียง 1-2 วันเท่านั้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคนไข้ในเเต่ละเคส

เนื่องจากวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ปลูกรากเทียมนั้นมีหลายส่วน และต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จึงมีราคาที่ค่อนข้างสูง และยังมีปัจจัยอื่นๆอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นวิธีการรักษา เทคนิค ความชำนาญ และประสบการณ์ของทันตแพทย์รากฟันเทียมโดยเฉพาะ

โดยส่วนใหญ่ทันตแพทย์จะแนะนำให้คนไข้จัดฟันให้เสร็จก่อน แล้วจึงรักษารากฟันเทียมทีเดียว เนื่องจากรากฟันเทียมนั้นไม่สามารถที่จะเคลื่อนตัวได้เหมือนฟันธรรมชาติ ทันตแพทย์จึงแนะนำให้จัดฟันก่อน

ไม่อยากอย่างที่คิด การดูแลรักษารากฟันเทียมนั้นสามารถดูแลรักษาได้เหมือนกันกับฟันธรรมชาติ เพียงเเต่มีข้อห้ามเเละข้อควรระวังคือ การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้ กระดูกและเนื้อเยื่อที่อยู่รอบรากเทียมอักเสบและเกิดอาการเหงือกหล่นได้ ซึ่งจะส่งผลให้รากฟันเทียมหลุดได้

ไม่เจ็บอย่างที่คิด เพราะการทำรากฟันเทียมจะทำภายใต้ยาชา จึงรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อยขณะฉีดยาชา ซึ่งอาการเจ็บหลังจากผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับบุคคลซึ่งแตกต่างกันไป เมื่อรับประทานยาแก้ปวดก็สามารถลดอาการปวดได้แล้ว

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีความรุนแรงไม่สามารถควบคุมได้ จึงมีข้อจำกัดในการรักษารากฟันเทียมเนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดนี้ไม่สามารถที่จะคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดที่ค่อนข้างสูงได้ ซึ่งจะส่งผลให้บาดแผลหายช้าซึ่งการทำรากฟันเทียมนั้นจะต้องมีการผ่าตัด อาจจะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อและอักเสบรุนแรงได้

อายุการใช้งานขึ้นอยู่กับบุคคลหากดูแลรักษาอย่างดีสามารถอยู่ได้ 10-20 ปี หากไม่มีการอักเสบก็สามารถอยู่ได้ตลอดชีวิตค่ะ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของแต่ละบุคคลด้วย

เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ จะแบ่งเป็นการรักษา 2 ขั้น ได้แก่ขั้นตอนของการผ่าตัดฝังรากเทียม และขั้นตอนของการใส่ฟันบนรากเทียม โดยในอดีตทั้งสองขั้นตอนจะห่างกันประมาณ 4-6 เดือนแต่ในปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้การทำรากฟันเทียมนั้นได้ลดเวลาลงเหลือเพียง 2-3 เดือนเท่านั้นโดยระยะเวลาของการรักษา ก็จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ปริมาณและคุณภาพของกระดูกขากรรไกรในเเต่ละคน 

จากผลการวิจัย และการเก็บข้อมูลทางสถิติ อัตราการปลูกรากฟันเทียมสามารถสำเร็จอยู่ที่ประมาณ 95% อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับสภาพของโครงสร้างฟันของแต่ละบุคคลด้วยดังนั้นจึงควรปรึกษากับทันตแพทย์ก่อนเข้ารับการรักษา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

สรุป

รากฟันเทียม คือการแก้ปัญหาการสูญเสียฟันที่หลุดไปด้วยอุบัติเหตุหรือธรรมชาติ โดยใช้โครงรากฟันเทียมมายึดติดกับกระดูกขากรรไกรของคนไข้ ตรงตำแหน่งที่คนไข้สูญเสียรากฟันไป จากนั้นทันตแพทย์จะทำฟันปลอมหรือที่ครอบฟันมายึดติดกับราก เพื่อทดแทนฟันที่หลุดไป และเพื่อให้ฟันบดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่าฟันจริงมากที่สุด และยังต้องมาพบทันตแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ 

รีวิวเคสปลูกรากฟันเทียมที่เด็นทัลดีไซน์เซ็นเตอร์ พัทยา

  • การทดแทนฟันหน้าที่ถูกถอนออกไป 1 ซี่ ด้วยรากเทียมและครอบฟันเซรามิก
image 7

* ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

การทดแทนฟันหน้าล่างที่สูญเสียไปด้วยรากฟันเทียมและครอบฟันเซรามิค

image 4

* ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

การทดแทนฟันหน้าที่ถูกถอนออกไปหลายซี่ด้วยรากเทียมและสะพานฟันชนิดเซรามิก

image 8

* ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

การทดแทนฟันที่ถูกถอนไปทั้งปาก ด้วยรากฟันเทียมชนิด All-on-6 และ All-on-4 ด้วยวัสดุโครง Titanium และ Zirconia

image 5

* ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

e3aeb2fa 6c17 4627 9125 8398718168b8* ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

image