ฟันปลอมชนิดถอดได้



ฟันปลอมชนิดถอดได้เป็นอุปกรณ์ทางทันตกรรมใช้เพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป รวมถึงเนื้อเยื่อโดยรอบฟัน ช่วยให้คนไข้มีการบดเคี้ยวอาหารที่ดีขึ้น ป้องกันการล้มของฟันข้างเคียง และป้องกันการงอกเกินของฟันคู่สบสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดหลักคือ ฟันปลอมชนิดถอดได้บางส่วนและฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก โดยวัสดุที่ใช้ทำฟันปลอมชนิดถอดได้จะมี 2 ชนิดคือ ฐานอะคริลิก (หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าพลาสติก) และ ฐานโลหะผสมนิเกิล – โครเมียม ไททาเนียม

xVroCgit0i8C3f2PgNSThsWzZgN7AO4bWSjRQ9 Dg8HFs3EI3YHexpFW1EHOWDTRXo7glPGODFARbICt7PluctAjXGR9FfmmPkW5Vb5R3l 46fHj91eNgnUttaDzwmmXn4NmdSiGCRH6W1axQQZnTQjb Jx0dxqR114808CvhwmAjND8q qzKzJQqSi4W4o1
RMp 769LoJKdRaOKLx8vZuoZDI4FDal

ฟันปลอมชนิดถอดได้เหมาะกับใคร

  1. ผู้ที่สูญเสียฟันไปบางตำแหน่งหรือทั้งขากรรไกร
  2. ผู้ที่ถอนฟันไปนานมากทำให้กระดูกขากรรไกรบางมากจนไม่สามารถปลูกรากฟันเทียมได้
  3. ผู้ที่มีปัญหาการทำความสะอาดฟัน
  4. ผู้ที่เป็นโรคปริทันต์ หรือเหงือกอักเสบรุนแรง จนสภาพฟันที่เหลือและกระดูกบางมาก ม่สามารถใส่ฟันแบบติดแน่น เช่น สะพานฟันหรือรากฟันเทียมได้
  5. คนไข้ที่อยู่ในระหว่างขั้นตอนการรักษาเพื่อทำฟันปลอมชนิดติดแน่น หรือ รากเทียม

ข้อดีของฟันปลอมชนิดถอดได้

  • ทดแทนฟันที่สูญเสียไป
  • ราคาไม่แพง
  • ใช้เป็นฟันปลอมชั่วคราวระหว่างรอการรักษาอื่นๆ
  • ใช้ในการช่วยประเมินการใช้งานและความสวยงามของฟันปลอมติดแน่นได้
  • ชนิดของฟันปลอมชนิดถอดได้

ข้อด้อยของฟันปลลอมชนิดถอดได้

  • ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวน้อยกว่าฟันปลอมชนิดติดแน่น
  • ต้องคอยถอดเข้าถอดออก เพื่อทำความสะอาด
  • อาจทำให้ฟันที่ใช้ยึดเกาะฟันปลอมมีปัญหา เช่น ผุหรือโยก
  • เวลาใส่อาจรู้สึกรำคาญ พูดไม่ชัด
  • เมื่อใช้งานไปซักระยะหนึ่งอาจต้องทำใหม่ หรือทำการเสริมฐานฟันปลอม เนื่องจากสภาพเหงือกที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
  • ทำให้เกิดแผลในช่องปากได้ง่าย

ชนิดของฟันปลอดถอดได้

  1. ฟันปลอมถอดได้ฐานอะคริลิก โดยอาจจะเป็นการใส่ฟันเพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไปทั้งปาก หรือบางส่วนก็ได้ ฟันปลอมชนิดนนี้จะมีราคาถูกที่สุด โดยราคาส่วนใหญ๋จะขึ้นอยู่กับจำนวนฟันที่สูญเสียไป เวลาใส่อาจมีความรำคาญมากกว่าฟันปลอมถอดได้ฐานโลหะ เนื่องจากฐานอะคริลิกต้องมีความหนามากว่าเพื่อให้เกิดความแข็งแรง
    • ในบางกรณีที่คุณมีฟันหน้าที่จะต้องถูกถอนออกไป แต่ยังไม่มีฟันปลอมเพื่อที่จะใส่หลังถอน ทันตแพทย์อาจพิจารณาทำฟันปลอมใส่ทันที(Immediate denture) ซึ่งจะใช้เป็นฟันปลอมชั่วคราว ในระหว่างดำเนินการเตรียมช่องปากเพื่อรองรับฟันปลอมถาวร เช่นในกรณีที่ต้องถอนฟันหลายซี่ในครั้งเดียวหรือกรณีที่ถอนฟันไม่กี่ซี่ โดยทันตแพทย์จะต้องเตรียมพิมพ์แบบฟันเพื่อส่งทำฟันปลอมให้ก่อน แล้วจึงนัดหมายคนไข้มาถอนฟันแล้วใส่ฟันปลอมทันทีภายหลังถอนฟัน หลังจากนั้นประมาณ 1-2 เดือนเมื่อแผลถอนฟันดีขึ้นแล้วจะมีการนัดคนไข้มาเพื่อปรับแต่งฐานฟันปลอมอีกครั้ง เนื่องบริเวณที่ฟันถูกถอนออกไปจะมีการยุบตัวของเหงือก
  1. ฟันปลอมถอดได้ฐานโลหะ จะมีความแข็งแรง อายุการใช้งาน ที่ยาวนานกว่าฟันปลอมบางส่วนถอดได้ชนิดฐานอะคริลิก แต่ก็มีราคาที่สูงกว่า  ดังนั้นการเลือกว่าจะใช้ฟันปลอมบางส่วนถอดได้ชนิดไหนขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น สภาพภายในช่องปากของคนไข้ เศรษฐานะของคนไข้ และความต้องการเพิ่มเติมต่างๆของคนไข้

ขั้นตอนการทำฟันปลอมชนิดถอดได้

ระยะเวลาในการทำฟันปลอมชนิดถอดได้จะขึ้นกับ สภาพช่องปากของคนไข้ ความต้องการของคนไข้ ชนิดฟันปลอมที่เลือก หลังจากได้รับฟันปลอมชนิดถอดได้แล้วคนไข้จะต้องใช้เวลาปรับตัวเพื่อใช้งานและอาจมีการต้องมาพบทันตแพทย์เพื่อปรับแต่งและแก้ไขฟันปลอมเป็นระยะ จนกว่าคนไข้จะสามารถใช้งานได้ปกติ หลังจากนั้นควรพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจสภาพฟันปลอมและช่องปากของคนไข้ โดยทุกขั้นตอนที่กล่าวมาต้องอาศัยความร่วมมือของคนไข้เพื่อให้การรักษาประสบความสำเร็จ โดยการทำฟันปลอมชนิดถอดได้มีขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 การตรวจและประเมินสภาพช่องปาก ขั้นแรกทันตแพทย์จะตรวจและประเมินสภาพช่องปากโดยรวม ทั้งในส่วนของฟันที่เหลืออยู่ ลักษณะการสบฟัน สภาพอวัยวะโดยรอบฟันทั้งเหงือกและกระดูกรองรับรากฟัน  สอบถามความต้องการของคนไข้ ประเมินว่าคนไข้เหมาะกับฟันปลอมชนิดถอดได้แบบไหน จากนั้นจะส่งคนไข้ไปพิมพ์ปากทำโมเดลฟันและถ่ายภาพเอ็กซเรย์ เพื่อประกอบการวางแผนการรักษาต่อไป

ขั้นที่ 2 วางแผนการรักษา เป็นขั้นตอนที่ทันตแพทย์จะนำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนแรกมาวางแผนการรักษา ออกแบบลักษณะของฟันปลอม ตำแหน่งการวางตะขอ ขนาดและรูปร่างของฟันที่จะใช้ให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคนรวมถึง ประเมินการรักษาอื่นๆที่ต้องทำร่วมด้วยเพื่อเตรียมช่องปากของคนไข้ให้เหมาะสมต่อการใส่ฟันเทียม เช่น การอุดฟันที่ผุ การรักษาโรคเหงือกให้กลับมาอยู่สภาพที่ดีก่อน

ขั้นที่ 3 เตรียมช่องปาก หลังจากวางแผนการรักษาเรียบร้อยแล้วทันตแพทย์จะเริ่มเตรียมช่องปากของคนไข้ให้เหมาะสมต่อการใส่ฟันปลอมทั้งการจัดการฟันผุในช่องปาก รักษาโรคเหงือก และกรอแต่งฟันในช่องปากให้มีลักษณะเหมาะแก่การวางตะขอฟันปลอม

ขั้นที่ 4 การพิมพ์ปากขั้นสุดท้าย หลังจากเตรียมช่องปากเสร็จแล้วจะพิมพ์ปากขั้นสุดท้ายและนำรอยพิมพ์ที่ได้ไปทำแบบจำลองฟันตัวจริง(Master model) และนำไปนำเป็นโครงฟันปลอมออกมา

ขั้นที่ 5 การลองฟัน หลังจากได้โครงฟันปลอมแล้วทันตแพทย์จะเรียงฟันบนแท่งกัดที่ทำจากขี้ผึ้งและใส่ให้คนไข้เพื่อประเมินก่อนจะทำเป็นฟันเทียมจริงๆออกมา ในขั้นตอนนี้ทันตแพทย์จะตรวจรูปร่างลักษณะฟัน สีของฟัน การเรียงตัวของฟัน การสบฟัน การออกเสียงและการกลืนของคนไข้ ความอูมนูนของใบหน้าหลังใส่ฟันเทียมของคนไข้ จากนั้นจะส่งแท่นกัดไปที่แลปเพื่อทำเป็นฟันปลอมออกมา

ขั้นที่ 6 หลังจากลองฟันเสร็จเรียบร้อยแล้วทันตแพทย์จะนำส่งไปที่แลปเพื่อทำเป็นฟันปลอมตัวจริง และนำมาใส่ให้คนไข้ จากนั้นจะตรวจเช็คการใช้งาน จุดกดเจ็บต่างๆและแก้ไขจนกว่าคนไข้จะสามารถใช้งานฟันปลอมได้อย่างปกติ  การฟันปลอมชนิดถอดได้ไปในระยะแรกอาจมีอาการระคายเคือง หรือเจ็บเหงือบางตำแหน่ง จึงควรรับประทานอาหารอ่อนๆก่อน จนเริ่มมีความเคยชินกับฟันปลอมแล้วจึงสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ จากนั้นทันตแพทย์จะนัดคนไข้เข้ามาตรวจเช็คฟันเทียมอีกครั้งหลังใช้งาน และแก้ไขปัญหาจากการใช้งานต่างๆ ซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือและการปรับตัวของคนไข้ร่วมด้วย

การดูแล รักษาฟันปลอมชนิดถอดได้

  • ถอดออกมาทำความสะอาดทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร ตอนตื่นนอน และก่อนนอน โดยการทำความสะอาดให้ใช้แปรงสีฟันถูไปบนฟันปลอมร่วมกับน้ำสบู่หรือน้ำยาล้างจาน ทำความสะอาดไม่ให้เหลือคราบอาหารติดฟันปลอม และแช่น้ำเปล่าไว้ เมื่อไม่ได้ใส่ หรืออาจใส่เม็ดฟู่แช่ทำความสะอาดฟันปลอมอาทิตย์ละครั้งก็ได้ แต่ไม่ควรแช่นานเกินระยะเวลาที่กำหนด
  • ทำความสะอาดฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่ โดยต้องถอดฟันปลอมออกก่อน
  • ห้ามใส่ฟันปลอมนอนเด็ดขาด ให้ถอดออกมาทำความสะอาดและแช่น้ำเปล่าเอาไว้
  • เข้าพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือนเพื่อตรวจประเมินสภาพฟันปลอมและสภาพภายในช่องปากอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่ควรถอดฟันปลอม ทิ้งไว้ให้แห้ง ใกล้ความร้อน หรือหล่นกระแทก เพราะจะทำให้ฟันปลอมเกิดการผิดรูป จนทำให้ใส่เข้าที่ไม่ได้