รากฟันเทียม vs รักษารากฟัน มีความแตกต่างกันอย่างไร

รากฟันเทียมและการรักษารากฟัน เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังเข้าใจผิดว่าเป็นสิ่งเดียวกัน แต่จริง ๆ แล้ว แม้ว่าการรักษาทั้งสองชนิดจะมีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก แต่กระนั้นก็มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะด้านเทคนิคหรือวิธีการ รวมทั้งเหตุผลในการรักษาก็แตกต่างกัน โดยบทความต่อไปนี้เราจะมาพูดกันถึงความเหมือนและความแตกต่างของการรักษาทั้งสองแบบนี้

รากฟันเทียม คืออะไร

รากฟันเทียมคือการรักษาเพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป ไม่ว่าจะด้วยอุบัติเหตุหรือโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับฟัน ซึ่งจะเป็นวัสดุไทเทเนียมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับฟันแท้ธรรมชาติและเข้ากับร่างกายมนุษย์ได้ดี โดยรากฟันเทียมทำหน้าที่เหมือนกับรากฟันธรรมชาติ เพื่อรองรับครอบฟัน, ฟันปลอม หรือ สะพานฟัน แต่กระนั้น หากคนไข้มีเหงือกหรือกระดูกส่วนขากรรไกรไม่แข็งแรง ทันตแพทย์จะทำการปลูกถ่ายกระดูกก่อนทำรากฟันเทียม 

รากฟันเทียมมีกี่แบบ

รากฟันเทียมมีกี่แบบ

1. รากฟันเทียมซี่เดียว

การทำรากฟันเทียมแบบซี่เดียวเหมาะสำหรับคนไข้ที่มีฟันซี่เดียวที่เสียหายตั้งแต่รากฟันจนถึงตัวฟัน แต่ในบางกรณี หากคนไข้มีฟันที่เสียหายหลายซี่ แต่ไม่ได้อยู่ติดกันก็สามารถทำรากฟันเทียมแบบซีเดียวได้เช่นเดียวกัน

2. รากฟันเทียมหลายซี่

การทำรากฟันเทียมแบบหลายซี่จำเป็นต้องใช้การติดสะพานฟันเพื่อรองรับรากฟันเทียมและทดแทนฟันที่หายไปจำนวนสองซี่ขึ้นไป โดยใช้สะพานฟันในการเชื่อมปิดช่องว่างตรงกลางของฟันซี่ที่หายไป ซึ่งเหมาะสำหรับคนไข้ที่เสียฟันหลายซี่ที่อยู่ติดกัน

3. รากฟันเทียมทั้งปาก

ทันตแพทย์จะวางรากฟันเทียมสี่จุดตามแนวโค้งกระดูกส่วนขากรรไกรของคนไข้ โดยวางไว้บนแนวเหงือก เพื่อทดแทนฟันบนและฟันล่างทั้งหมด นอกจากนี้จะต้องปรับแก้ฟันปลอมเพื่อให้คนไข้สามารถสวมใส่ได้พอดีกับกระดูกส่วนขากรรไกรที่ผสานกับรากฟันเทียม

รักษารากฟัน คืออะไร

การรักษารากฟันเป็นการรักษาและฟื้นฟูสภาพของรากฟันที่เสียหาย โดยขั้นตอนการรักษารากฟันเริ้มที่การทำความสะอาดโพรงฟันและเอาเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออก จากนั้นทำการอุดรากฟันและซ่อมซอมให้กลับมาอยู่ในสภาพปกติ ซึ่งคนไข้ที่ทำการรักษาจะสามารถกลับมาใช้งานฟันได้ตามปกติ แต่ในช่วงแรกควรหลีกเลี่ยงการรับประมานอาหารที่มีความแข็ง เพราะอาจเสี่ยงต่อการกระทบกระเทือนถึงรากฟันได้

ฟันแบบไหนต้องรักษารากฟัน

ฟันแบบไหนต้องรักษารากฟัน

ปกติแล้วแล้วทันตแพทย์จะทำการตรวจสอบสภาพฟันและรากฟันของคนไข้ทุกครั้งก่อนทำการรักษา เพื่อประเมินว่าคนไข้มีสภาพฟันแบบไหนและควรทำการรักษาอย่างไร แต่กระนั้นวิธีการสังเกตฟันของตัวเองว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรและควรรับการรักษารากฟันไหม ดังนี้

1. ฟันผุลึกถึงโพรง

ฟันแท้ธรรมชาติที่ผุลึกไปถึงโพรง หากไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เกิดการติดเชื้อลุกลาม และอาจถึงขึ้นลามขึ้นตาได้ โดยหากรู้ว่าตนเองมีฟันผุ ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการรักษา

2. ฟันเปลี่ยนสี

ฟันที่เปลี่ยนสีไปผิดปกติบ่งบอกถึงฟันตาย ซึ่งเป็นสภาว่าเนื้อเยื่อได้รับความเสียหายจากเลือดที่ไม่สามารถไหลเวียนมาหล่อเลี้ยงได้ และหากปล่อยไว้นานมากขึ้น ทำให้เกิดการติดเชื้อและเป็นหนองได้ อีกทั้งยังส่งผลต่อต่อมรับรสอีกด้วย

3. ฟันที่มีรอยร้าว

รอยแตกร้าวบนฟัน อาจจะเกิดได้หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุหรือการแปรงฟัน ซึ่งการแปรงฟันอย่างรุนแรงนั้นส่งผลกระทบต่อคอฟันทำให้สึกหรอ จนเกิดอาการเสียวฟันได้ ดังนั้นหากเกิดรอยร้าวขึ้นที่ฟัน ควรเข้ารับการอุดคอฟันในทันที เพื่อลดความเสียหายที่อาจจะหนักขึ้นได้ในอนาคต

4. ฟันที่มีตุ่มหนอง 

ฟันที่เกิดตุ่มหนองมีสาเหตุมาจากเหงือกบวม หากยิ่งปล่อยอาการนี้ไว้นานเท่าไหร่ ความเสี่ยงที่เชื้อจะลุกลามอย่างรุนแรงก็จะมากขึ้นตามไปด้วย

รากฟันเทียม vs รักษารากฟัน ต่างกันอย่างไร

การทำรากฟันเทียมจำเป็นต้องถอนรากฟันที่เสียหายออกก่อน จากนั้นจึงนำรากฟันเทียมที่ถูกสร้างด้วยวัสดุที่แข็งแรงและใกล้เคียงกับฟันแท้ธรรมชาติมาใส่แทน ซึ่งการรักษารากฟันเทียมจะมีคุณสมบัติไม่แตกต่างจากฟันแท้เลย อีกทั้งอาจจะแข็งแร่งและมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า แต่การรักษารากฟัน เป็นการรักษาและซ่อมแซมรากฟันที่ได้รับความเสียหายให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิม โดยไม่มีการถอนรากฟันและใส่ฟันปลอมแทน แต่รากฟันยังเป็นรากฟันแท้ธรรมชาติเช่นเดิม

บทสรุป

รากฟันเทียมจำเป็นต้องถอนฟันออกไปก่อนและใส่ฟันใหม่เข้ามาทดแทน ซึ่งรากฟันเทียมนี้จะทำน้าที่เมือนกับรากฟันแท้ แต่กลับกัน การรักษารากฟันยังคงสภาพรากฟันแท้ธรรมชาติให้ใช้งานได้ต่อไป เพียงแต่ฟันเกิดความเสียหายเท่านั้น จึงจำเป็นต้องเข้ารับการรักษารากฟัน

หากใครสนใจและต้องการปรึกษาปัญหาฟันและช่องปากโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์โดยตรง สามารถติดต่อได้ที่ Dental Design Center เราเป็นคลินิกทำฟัน พัทยา ที่มีบริการทางทัตกรรมแบบครบวงจรไว้คอยให้บริการลูกค้าทุกท่านอย่างใส่ใจและรับประกันผลลัพธ์การรักษาที่มีประสิทธิภาพ