วิธีใช้น้ำยาบ้วนปากที่ถูกต้อง เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุด

Cover how to use mouthwash

วิธีใช้น้ำยาบ้วนปากที่ถูกต้อง เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุด

คนที่สนใจหรือเพิ่งเริ่มใช้น้ำยาบ้วนปาก คงอยากจะรู้วิธีใช้น้ํายาบ้วนปากที่ถูกต้องว่าต้องใช้ยังไงและต้องใช้ตอนไหน ถึงจะได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

  • ขั้นตอนและวิธีใช้น้ํายาบ้วนปากที่ถูกต้อง คือ ให้เทน้ำยาบ้วนปากประมาณ 20 มล. ลงในฝาขวดที่ให้มา แล้วค่อยนำไปกลั้วปากประมาณ 30-60 วินาที และเมื่อครบเวลาก็ให้บ้วนน้ำยาบ้วนปากทิ้งก็เป็นอันเสร็จ
  • น้ำยาบ้วนปากช่วยอะไรได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ช่วยลดกลิ่นปากเพื่อสร้างลมหายใจที่หอมสดชื่น, ช่วยลดโอกาสการเกิดฟันผุ, ช่วยให้ช่องปากชุ่มชื่นกว่าเดิม, ช่วยให้ฟันดูขาวขึ้น, ช่วยลดแบคทีเรียในช่องปาก, ช่วยป้องกันคราบจุลินทรีย์และโรคเหงือกอักเสบได้

“ ตัวช่วยเพิ่มความมั่นใจในการพูดคุย ”

หลายคนที่กังวลเรื่องปัญหากลิ่นปากจนอยากลองใช้น้ำยาบ้วนปาก ตามคำเคลมในโฆษณาที่บอกคุณสมบัติมาแบบจัดเต็ม แต่ยังไม่รู้ว่าน้ำยาบ้วนปากต้องใช้ตอนไหนและต้องใช้ยังไง ถึงจะได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพที่สุด วันนี้ Dental Design Pattaya เลยจะมาแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับน้ำยาบ้วนปากว่ามีประโยชน์ยังไง รวมถึงวิธีใช้น้ํายาบ้วนปากและข้อควรรู้ดี ๆ ที่ไม่ควรพลาด

น้ำยาบ้วนปาก มีทั้งหมดกี่ประเภท?

01 how to use mouthwash

โดยปกติแล้วคนธรรมดาทั่วไปมักจะไม่ค่อยรู้ว่า จริง ๆ แล้วน้ำยาบ้วนปากนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทมีคุณสมบัติที่ต่างกันดังนี้

  • น้ำยาบ้วนปากแบบทั่วไป คือ น้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีสารเคมีที่สามารถกำจัดแบคทีเรียในช่องปากได้ ทำให้มีคุณสมบัติในการลดกลิ่นปากได้ในระยะสั้นๆ เท่านั้น
  • น้ำยาบ้วนปากแบบใช้รักษาโรค คือ น้ำยาบ้วนปากที่มีสารเคมีที่สามารถกำจัดคราบจุลินทรีย์และแบคทีเรียในช่องปากได้ จึงช่วยป้องกันโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์ได้

ส่วนผสมในน้ำยาบ้วนปาก มีอะไรบ้าง?

02 how to use mouthwash

เวลาไปเดินเลือกซื้อน้ำยาบ้วนปากด้วยตัวเอง จะเห็นเลยว่าแต่ละยี่ห้อแต่ละสูตรมีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนกัน นั่นเป็นเพราะส่วนผสมด้านในที่ผู้ผลิตใส่เข้ามา ซึ่งส่วนผสมหลัก ๆ ในน้ำยาบ้วนปากก็จะมีดังนี้

  • เซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์ (Cetylpyridinium Chloride) ช่วยยับยั้งกลิ่นปากและต้านเชื้อแบคทีเรีย
  • คลอร์เฮกซิดีน (Chlorhexidine) ช่วยลดคราบจุลินทรีย์ในช่องปาก พร้อมรักษาโรคเหงือกอักเสบได้
  • ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) ช่วยลดคราบจุลินทรีย์ ต้านเชื้อแบคทีเรีย และช่วยทำให้ฟันดูขาวขึ้นเล็กน้อย
  • ฟลูออไรด์ (Fluoride) ช่วยให้ผิวเคลือบฟันทนทานต่อกรด พร้อมยับยั้งไม่ให้ผิวเคลือบฟันผุ
  • สารประเภทดีเทอร์เจนต์ (Detergent) ช่วยต้านคราบจุลินทรีย์และรักษาโรคเหงือกอักเสบ
  • คาร์บาไมด์เปอร์ออกไซด์ (Carbamide Peroxide) ช่วยทำให้สีฟันดูขาวขึ้น
  • เอนไซม์ต้านแบคทีเรีย ช่วยลดจำนวนแบคทีเรียในช่องปาก และช่วยลดอาการปากแห้งได้
  • เอทิลแอลกอฮอล์ ช่วยลดคราบจุลินทรีย์เหนือแนวเหงือก พร้อมป้องกันโรคเหงือกอักเสบได้
  • น้ำมันหอมระเหย ช่วยต้านแบคทีเรียและดับกลิ่นปากได้ระยะเวลาหนึ่ง
  • สมุนไพรและส่วนผสมจากธรรมชาติ ช่วยเพิ่มความสดชื่น เพื่อลมหายใจที่หอมสะอาด

วิธีใช้น้ำยาบ้วนปากที่ถูกต้อง

03 how to use mouthwash

สำหรับใครที่รู้สึกว่าการแปรงฟันอย่างเดียวไม่เพียงพอ เลยต้องการหาตัวช่วยเสริมอย่างน้ำยาบ้วนปากมาใช้ เพื่อให้สามารถออกไปใช้ชีวิตพบปะผู้คนได้อย่างมั่นใจมากขึ้น จะต้องรู้วิธีใช้น้ำยาบ้วนปากที่ถูกต้อง เพื่อเสริมให้น้ำยาบ้วนปากทำงานได้เต็มประสิทธิภาพกว่าที่เคย ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

  1. เทน้ำยาบ้วนปากประมาณ 20 มล. หรือประมาณ 4 ช้อนชา ลงในฝาขวดที่ให้มา
  2. แล้วจึงกลั้วปากด้วยน้ำยาบ้วนปากนั้นประมาณ 30-60 วินาที
  3. เมื่อครบเวลาให้บ้วนน้ำยาบ้วนปากทิ้งก็เป็นอันเสร็จ

ซึ่งทุกคนสามารถเลือกใช้น้ำยาบ้วนปากตามที่ตัวเองสะดวก ไม่ว่าจะก่อนแปรงฟันหรือหลังแปรงฟัน โดยไม่จำเป็นต้องบ้วนน้ำเปล่าตาม

น้ำยาบ้วนปากช่วยอะไรได้บ้าง?

04 how to use mouthwash

ถึงแม้การแปรงฟันจะเป็นการทำความสะอาดฟันที่สำคัญและดีที่สุด แต่การใช้น้ำยาบ้วนปากควบคู่ไปกับการแปรงฟันก็ช่วยเพิ่มความมั่นใจได้ไม่น้อย ซึ่งประโยชน์ของน้ำยาบ้วนปากนั้นมีหลายอย่างดังนี้

  • ช่วยลดกลิ่นปาก พร้อมสร้างลมหายใจที่หอมสดชื่น
  • ช่วยลดโอกาสฟันผุ เพิ่มความแข็งแรงให้กับผิวเคลือบฟัน
  • ช่วยให้ช่องปากชุ่มชื่น ลดภาวะปากแห้งเนื่องจากน้ำลายน้อย
  • ช่วยให้ฟันดูขาวขึ้น สำหรับสูตรที่มีส่วนผสมของสารฟอกสีฟัน
  • ช่วยลดแบคทีเรีย พร้อมป้องกันคราบจุลินทรีย์และโรคเหงือกอักเสบได้

ข้อควรรู้เกี่ยวกับน้ำยาบ้วนปาก

1. เด็กเล็กไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปาก

05 how to use mouthwash

ผู้ปกครองหลายคนอาจไม่รู้ว่าเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 7 ปี ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปาก เพราะเด็กเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะกลืนน้ำยาบ้วนปากลงท้องได้ และหากได้รับน้ำยาบ้วนปากเกินขนาดก็อาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว และอาจรุนแรงถึงขั้นหมดสติได้

2. ไม่ควรบ้วนนานเกินไป

06 how to use mouthwash

หลายคนชอบคิดไปเองว่าถ้าอยากให้น้ำยาบ้วนปากทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ หรืออยากให้ลมหายใจที่หอมสดชื่นอยู่กับเรานานขึ้นกว่าเดิม จะต้องกลั้วและอมน้ำยาบ้วนปากเอาไว้นาน ๆ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะถ้าเราใช้น้ำยาบ้วนปากเกิน 1 นาที จะทำให้ช่องปากเกิดอาการระคายเคืองได้

3. ไม่ควรบ้วนน้ำตาม

07 how to use mouthwash 1

หลายคนที่ชอบบ้วนน้ำเปล่าตามทุกครั้งหลังใช้น้ำยาบ้วนปาก อาจเป็นเพราะรู้สึกว่าการทิ้งคราบน้ำยาบ้วนปากเอาไว้โดยที่ไม่บ้วนน้ำเปล่า จะทำให้ร่างกายได้รับสารเคมีมากเกินไป แต่จริง ๆ แล้วการบ้วนน้ำเปล่าตามนั้นเป็นการไปชำระล้างสารฟลูออไรด์ที่เคลือบฟันอยู่ให้หลุดออก ซึ่งเป็นการลดประสิทธิภาพน้ำยาบ้วนปาก ดังนั้น จึงควรปล่อยให้ส่วนผสมทำงานประมาณ 30 นาที จึงค่อยบ้วนปากหรือดื่มน้ำตาม ปรึกษาเราตอนนี้

ทั้งหมดนี้ คือ วิธีใช้น้ำยาบ้วนปากที่ถูกต้อง เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ที่น่าจะช่วยให้ทุกคนรู้ขั้นตอนและเทคนิคการบ้วนปาก เพื่อสร้างลมหายใจหอมสดชื่นได้แบบยาว ๆ และหากใครกำลังสนใจตรวจเช็กสุขภาพฟัน ขูดหินปูน รวมถึงการจัดฟันหรือทำรากฟันเทียม ก็สามารถมาใช้บริการกับเราที่ Dental Design Pattaya ด้วยการบริการที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย เพื่อความพึงพอใจสูงสุดของคนไข้

Dental Design Pattaya คลินิกทันตกรรมครบวงจร มาตรฐานระดับโลก

  • มั่นใจได้ในการบริการและคุณภาพในการรักษา ด้วยทีมทันตแพทย์ที่ผ่านการศึกษาจากสถาบันทั้งในและนอกประเทศ มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์มากมาย
  • เพียบพร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัยและครอบคลุมทุกการรักษา 
  • ยืดอายุให้กับฟันด้วยการขูดหินปูน ลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคเหงือก
  • รักษาฟันผุด้วยการอุดฟัน เพื่อดูแลและรักษาฟันแท้ให้อยู่กับคนไข้ไปนาน ๆ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

AkBg9BD4hMLH9951XtWzx 5l8Xc6Jwp63p48lJabPPakkEnB29sh2zcQKSuvjtHo0tLa4JkdYr1fGI1t9up8uLwcziwwVMQimvaLA QzKfR4ZqOwxBZSylyzOmVGEP0oRvbii51XxPUe iYz8l5u Q
tRCwCVIsclAclx7hd7WT7vwZqTEV0TLWsdM fK5xPXa8vJdtXWkwyxam9O5feCiPlw7fxdpqIIahwP2bFtR8lVN6 YuxYr z5hzClKdy5QDouARncPCY3VX9p8slE1v5E2OIusBUvLI5yS UPN SkQ

น้ํายาบ้วนปาก, วิธีใช้น้ํายาบ้วนปาก