ปัญหาฟันแตกรักษาได้ แค่ใช้เทคนิคทันตกรรมตามนี้

01 repairing chipped or broken tooth 1

ปัญหาฟันแตกรักษาได้ แค่ใช้เทคนิคทันตกรรมตามนี้

วิธีรักษาฟันแตกในปัจจุบันสามารถรักษาได้หลายวิธี ซึ่งช่วยป้องกันโอกาสเสี่ยงที่จะสูญเสียฟันซี่นั้น ๆ ได้ อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน เสียวฟัน และเหงือกบวมได้อีกด้ว

  • ฟันแตก เป็นปัญหาสุขภาพช่องปากที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจทำให้สูญเสียฟันได้ หากไม่รีบรักษา ซึ่งสาเหตุของฟันแตกมีหลายปัจจัยด้วยกัน ทั้ง ทางอุบัติเหตุ, พฤติกรรมการใช้ฟันที่ผิดวิธี, การทานอาหาร รวมถึงอายุที่เพิ่มขึ้นด้วย
  • การรักษาฟันแตก มีด้วยกันหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น การกรอฟัน, การอุดฟัน, การครอบฟัน, การรักษารากฟัน และการถอนฟัน ซึ่งแต่ละวิธีจะเหมาะกับเคสฟันแตกที่มีความรุนแรงที่ไม่เหมือนกัน

ฟันแตกเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็เจอปัญหาฟันแตกได้ ซึ่งในปัจจุบันสามารถรักษาได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ วันนี้ Dental Design Pattaya เลยจะมาแชร์วิธีรักษาฟันแตกว่ามีอะไรบ้าง? พร้อมบอกสาเหตุและลักษณะอาการของฟันแตก รวมถึงเทคนิคป้องกันไม่ให้เกิดฟันแตก เพื่อช่วยให้ทุกคนมีสุขภาพช่องปากที่ดี

ฟันแตก คืออะไร?

01 repairing chipped or broken tooth

ฟันแตก คือ อีกหนึ่งปัญหาสุขภาพช่องปากที่หลายคนเจอ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น อายุ อุบัติเหตุ หรือพฤติกรรมการทาน โดยปัญหาฟันแตกถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ ไม่ยอมรักษา อาจทำให้ต้องสูญเสียฟันซี่นั้น ๆ ไปได้เลย โดยอาการฟันแตกสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • ฟันร้าว มักจะเกิดขึ้นบริเวณผิวเคลือบฟัน บางครั้งอาจร้าวจากด้านในฟัน ทำให้ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องให้ทันตแพทย์เช็กและประเมินอาการเท่านั้น
  • ฟันแตก ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับฟันซี่หน้ามากกว่าซี่อื่น ๆ โดยจะมีชิ้นส่วนของฟันแตกหรือบิ่นออกมาจากตัวฟัน

ฟันแตก เกิดจากอะไรได้บ้าง?

  • เกิดจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่กระทบกระเทือนไปถึงฟัน ไม่ว่าจะเป็น อุบัติเหตุทางรถยนต์ อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา หรือการหกล้ม เป็นต้น
  • ทานอาหารหรือเครื่องดื่ม ที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันอย่างฉับพลัน อย่างการทานน้ำซุปร้อน ๆ และตามด้วยเครื่องดื่มที่เย็นจัด
  • อายุที่มากขึ้น เนื่องจากกระดูกและฟันของผู้สูงอายุจะมีความแข็งแรงน้อยลง
  • เคี้ยวหรือกัดอาหารที่มีความแข็ง อย่างเช่น ลูกอม หมูหรอบ หรือน้ำแข็ง
  • ฟันผุมากจนมีรอยอุดขนาดใหญ่ ซึ่งส่งผลให้ฟันมีความแข็งแรงน้อยลง
  • ใช้ฟันแบบผิด ๆ อย่างการเปิดฝาขวดด้วยฟัน
  • มีพฤติกรรมการนอนกัดฟันตอนกลางคืน

วิธีรักษาอาการฟันแตก มีอะไรบ้าง?

1. กรอฟัน

03 repairing chipped or broken tooth

เป็นวิธีรักษาฟันแตกสำหรับเคสที่ฟันบิ่นเล็กน้อยที่ไม่มีอาการปวดร่วมด้วย แต่ฟันซี่ที่บิ่นดันคมจนรู้สึกบาดลิ้นตลอดเวลา จะต้องทำการกรอฟันเพื่อขัดและแต่งซี่ฟันให้คมน้อยลงเพื่อไม่ให้บาดลิ้น ซึ่งส่วนมากจะเป็นการรักษาในระดับผิวเคลือบฟันเท่านั้น

2. อุดฟัน

04 repairing chipped or broken tooth

เป็นการรักษาฟันแตกสำหรับฟันที่แตกจนสังเกตเห็นได้ หรือในเคสที่ฟันบิ่นจนเกิดความแหว่งเล็กน้อย รวมถึงเคสฟันแตกในซี่ที่เคยผ่านการอุดมาก่อน โดยทันตแพทย์จะเลือกใช้วัสดุเรซิ่นสีคล้ายฟันสำหรับอุดฟันหน้า และใช้วัสดุอมัลกัมสีเงินกับฟันด้านในหรือฟันกราม เพื่อให้ฟันกลับมาเต็มซี่เหมือนเดิม

3. ครอบฟัน

05 repairing chipped or broken tooth 1

สำหรับเคสที่มีรอยฟันบิ่นค่อนข้างใหญ่ ทำให้สูญเสียเนื้อฟันไปเยอะจนไม่สามารถรักษาด้วยการอุดฟันได้ จะต้องใช้วิธีรักษาฟันแตกด้วยการครอบฟัน เพื่อให้ฟันกลับมาใช้งานได้ตามปกติ เคี้ยวอาหารได้ดีขึ้น แถมยังช่วยสร้างความมั่นใจได้อีกด้วย

4. รักษารากฟัน

06 repairing chipped or broken tooth

มักจะเป็นการรักษาฟันแตกในเคสที่ค่อนข้างรุนแรง หรือมีการกระทบกระเทือนไปถึงบริเวณโพรงประสาทฟัน ซึ่งทำให้เกิดอาการปวด โดยวิธีรักษาฟันแตกในลักษณะนี้จะต้องรักษารากฟันที่เสียหายก่อน และตามด้วยการครอบฟัน เพื่อให้ฟันที่แตกกลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม

5. ถอนฟัน

07 repairing chipped or broken tooth

เป็นการรักษาฟันแตกที่หลายคนไม่อยากเจอมากที่สุด แต่เป็นทางออกเดียวสำหรับเคสฟันแตกที่แตกลึกลงไปจนเลยแนวเหงือก และส่งผลให้ฟันซี่นั้นเกิดความเสียหายรุนแรงจนไม่สามารถรักษาบริเวณเนื้อฟันได้แล้ว ทำให้ทันตแพทย์ต้องถอนฟันเพื่อไม่ให้ความเสียหายลามไปยังซี่อื่น ๆ

รายละเอียดการรักษารากฟัน ปรึกษาเราตอนนี้

อาการฟันแตก มีอะไรบ้าง?

08 repairing chipped or broken tooth
  • มีอาการอักเสบหรือเหงือกบวม เนื่องจากเวลาฟันแตกจะทำให้เกิดช่องว่างและอาจมีเศษอาหารเข้าไปสะสม จนเกิดเชื้อแบคทีเรียและทำให้เหงือกบวมได้ 
  • มีอาการเสียวฟัน เวลาดื่มเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นจัด เนื่องจากฟันที่มีอาการร้าวเล็กน้อย อาจจะไม่มีอาการปวดที่ชัดเจน แต่จะรู้สึกเสียวฟันเวลาดื่มน้ำร้อนหรือเย็นจัดนั่นเอง
  • มีอาการเจ็บหรือปวด เวลาเคี้ยวอาหาร จะเกิดในเคสที่ฟันแตกรุนแรง ทำให้เวลาทานอาหาร จะรู้สึกปวดบริเวณฟันซี่นั้น ๆ

เทคนิคป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาฟันแตก

  • หมั่นดูแลและตรวจสุขภาพฟันและช่องปากอยู่เสมอ
  • ทานอาหารที่อุดมไปด้วยเเคลเซียม เช่น นม ข้าวโอ๊ต ถั่ว และผักใบเขียว เป็นต้น
  • ไม่ใช้ฟันในทางที่ผิด อย่างเช่น การงัดเพื่อเปิดฝาขวด เป็นต้น
  • เลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็ง ๆ อย่าง น้ำแข็งหรือลูกอม
  • ใส่ฟันยางป้องกันอุบัติเหตุ หากชอบเล่นกีฬาที่เสี่ยงต่อการกระแทก เช่น ฟุตบอล เป็นต้น
  • ใส่ Night Guard หากรู้ตัวว่าตัวเองเป็นคนนอนกัดฟัน

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของปัญหาฟันแตกที่สามารถรักษาได้ด้วยเทคนิคทันตกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยให้ทุกคนไม่ต้องทนกับความเจ็บปวดและความไม่สวยงามของฟันแตกอีกต่อไป และหากใครกำลังสนใจตรวจเช็กสุขภาพฟัน จัดฟัน รวมถึงการทำครอบฟันและรักษารากฟัน ก็สามารถมาใช้บริการกับเราที่ Dental Design Pattaya ด้วยการบริการที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย เพื่อความพึงพอใจสูงสุดของคนไข้

Dental Design Pattaya คลินิกทันตกรรมครบวงจร มาตรฐานระดับโลก

  • มั่นใจได้ในการบริการและคุณภาพในการรักษา ด้วยทีมทันตแพทย์ที่ผ่านการศึกษาจากสถาบันทั้งในและนอกประเทศ มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์มากมาย
  • เพียบพร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัยและครอบคลุมทุกการรักษา 
  • เพิ่มความมั่นใจพร้อมเสริมความแข็งแรงด้วยการครอบฟัน
  • คืนความแข็งแรงให้กับฟันด้วยการรักษารากฟัน ให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

AkBg9BD4hMLH9951XtWzx 5l8Xc6Jwp63p48lJabPPakkEnB29sh2zcQKSuvjtHo0tLa4JkdYr1fGI1t9up8uLwcziwwVMQimvaLA QzKfR4ZqOwxBZSylyzOmVGEP0oRvbii51XxPUe iYz8l5u Q
tRCwCVIsclAclx7hd7WT7vwZqTEV0TLWsdM fK5xPXa8vJdtXWkwyxam9O5feCiPlw7fxdpqIIahwP2bFtR8lVN6 YuxYr z5hzClKdy5QDouARncPCY3VX9p8slE1v5E2OIusBUvLI5yS UPN SkQ

     

ฟันแตก, ฟันบิ่น