รากฟันเทียมมีกี่ประเภท พร้อมขั้นตอนการทำรากฟันเทียม

รากฟันเทียมคืออะไร? เป็นคำถามที่หลาย ๆ คนยังสงสัย ซึ่งก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับรากฟันเทียมคืออะไรและทำไมถึงต้องทำรากฟันเทียม รากฟันเทียมเป็นวิธีการทางทันตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาและรักษาการสูญเสียฟันแท้ธรรมชาติที่เสียไปด้วยการผ่าตัด โดยการฝังรากฟันเทียมในจุดที่สูญเสียฟัน เพื่อให้รากฟันเทียมยึดติดกับกระดูกส่วนขากรรไกรของคนไข้ จากนั้นทันตแพทย์จะประเมินว่าคนไข้แต่ละรายควรทำฟันปลอมหรือครอบฟันเพื่อยึดติดกับราก ซึ่งรากฟันเทียมแบ่งเป็นสามประเภทหลัก ๆ ได้แก่ Conventional Implant , Immediate Implat และ Immediate Loaded Implant

รากฟันเทียมทำงานอย่างไร

รากฟันเทียมทำงานอย่างไร

โดยปกติแล้วคนไข้ที่ทำฟันปลอมจะรู้สึกไม่เป็นธรรมชาติหรือบางครั้งอาจจะทำให้เจ็บได้ แต่การทำรากฟันเทียมจะทำให้ปัญหาจุดนั้นของคนไข้หายไป เพราะรากฟันปลอมจะทำงานร่วมกันกับกระดูกส่วนขากรรไกร ซึ่งหลังจากที่ทั้งสองอย่างนี้ประสานกันอย่างสมบูรณ์แล้ว จะทำให้ฟันปลอมหรือที่ยึดฟันปลอมไม่เลื่อนออก โดยเป็นผลดีอย่างมากเวลาที่คนไข้พูดหรือรับประทานอาหาร ต่างจากฟันปลอมคือ รากฟันเทียมจะให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติคล้ายกับรากฟันแท้ธรรมชาติมากกว่าการทำฟันปลอม

ประเภทของรากฟันเทียม

อย่างที่ทราบกันดีว่ารากฟันเทียมเป็นวิธีการรักษารากฟันแท้ตามธรรมชาติที่สูญเสียไป ซึ่งรากฟันเทียมแบ่งออกเป็นสามประเภทหลัก ๆ คือ

1. การฝังรากฟันเทียมแบบธรรมดา (Conventional Implant)

วิธีการฝังรากเทียมแบบธรรมดานี้เป็นวิธีที่ใช้กับคนไข้ที่ทำรากฟันซี่เดียวและหลายซี ซึ่งขั้นตอนการทำอยู่สองช่วง คือ หลังจากที่ฝังรากฟันเทียมแล้วจะใช้เวลาประมาณสามเดือน เพื่อให้กระดูกยึดติดกับรากฟันเทียมก่อน จากนั้นจะติดฟันปลอมเข้ากับรากฟันเทียม

โดยวิธีการแบบธรรมดานี้เป็นวิธีที่มีข้อจำกัดน้อย แต่สามารถรักษาคลอบคลุมทุกสภาพกระดูก แต่กระนั้นหากสภาพกระดูกของคนไข้อยู่ในระดับที่ปานกลางถึงรุนแรง ทักตแพทย์แนะนำว่า ควรปลูกกระดูกก่อนที่จะทำการฝังรากฟันเทียมเข้าไป

2. การฝังรากฟันเทียมแบบทันที (Immediate Implant)

การฝังรากฟันเทียมประเภทนี้ใช้เวลาน้อยกว่าการฝังรากฟันเทียมแบบธรรมดาหลายเท่า เพราะการฝังรากฟันเทียมแบบทันทีมีระยะเวลาเพียงหนึ่งวันเท่านั้น ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการรักษาและลดขั้นตอนลงอย่างมาก ทำให้ลดโอกาสการเกิดเหงือกร่นลงด้วย โดยขั้นตอนการทำคือทันตแพทย์จะจะใส่รากฟันเทียมทันทีหลังจากถอนฟันคนไข้ออก

โดยปกติแล้วการฝังรากฟันเทียมประเภทนี้จะเหมาะสำหรับคนไข้ที่มีสภาพกระดูกส่วนขากรรไกรที่สมบูรณ์ดี อีกทั้งยังต้องไม่มีพยาธิที่ปลายรากฟันที่ต้องการจะถอนออก และต้องมีปริมาณกระดูกที่เพียงพอสำหรับรากฟันเพื่อยึดติดด้วย

3. การเชื่อมต่อส่วนของฟันปลอม (Immediate Loaded Implant)

รากฟันเทียมประเภทนี้ทำงานโดยการที่หลังจากฝังรากฟันเทียมบริเวณกระดูกส่วนขากรรไกรแล้ว อุปกรณ์ฟันปลอมจะใส่ได้ทันที ซึ่งเหมาะกับคนไข้ที่มีสภาพกระดูกส่วนขากรรไกรดี โดยวิธีการนี้จะใช้ได้ทั้งการทำครอบฟันแบบชั่วคราวและแบบถาวร

การเตรียมตัวก่อนทำรากฟันเทียม

ทุกครั้งที่จะทำการรักษารากฟันเทียม คนไข้จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจและประเมินอย่างละเอียดจากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน เพื่อป้องกันปัญหาแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลังการทำรากฟันเทียมได้ ซึ่งในกรณีที่คนไข้มีโรคประจำตัวและต้องรับประทานยาเป็นประจำ หรือมีประวัติการแพ้ยา คนไข้ต้องแจ้งข้อมูลนี้แก่ทันตแพทย์โดยละเอียดก่อนทำการผ่าตัด นอกจากนี้ คนไข้ควรวางแผนการรักษาร่วมกับทันตแพทย์ให้เข้าใจก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องประเภทของรากฟันและฟันเทียมที่ใช้ในการรักษา เพราะเป็นการป้องกันผลเสียแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกทั้งยังเพื่อให้ได้รับผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดอีกด้วย

ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม

ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม

ปกติแล้วคนไข้มักจะถามว่าการรักษารากฟันใช้เวลากี่เดือน? ซึ่งระยะเวลาการรักษาของแต่ละคนไม่เท่ากัน แต่ส่วนใหญ่แล้วการรักษารากฟันจะใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน โดยขั้นตอนการรักษาแต่ละขั้นตอนก็จะใช้เวลารักษาและเวลาพักฟื้นต่างกันไป โดยมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้

1. การตรวจสอบช่องปาก

ทันตแพทย์ที่รักษาจะทำการตรวจสอบช่องปากของคนไข้อย่างละเอียดด้วยการ X-ray แบบพาโนรามาและ CT Scan เพื่อประเมินลักษณะต่าง ๆ ภายในช่องปากของคนไข้ ไม่ว่าจะเป็นความหนาของกระดูกส่วนขากรรไกรหรือเนื้อเยื่อบนสันเหงือก เป็นต้น 

2. การเตรียมพื้นที่สำหรับการฝังรากฟันเทียม

หลังจากที่ทันตแพทย์ประเมินและตรวจสอบคนไข้เรียบร้อยแล้ว ทันตแพทย์จะเตรียมพื้นที่ภายในช่องปากให้เหมาะสมสำหรับการฝังรากฟัน โดยหากคนไข้มีการติดเชื้อ ทันตแพทย์จะต้องทำรักษาก่อน ซึ่งอาจจะใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ แต่บางกรณีอาจจะใช้เวลาถึง 1-2 เดือนแล้วแต่กรณี นอกจากนี้ หากคนไข้มีสภาวะกระดูกไม่เพียงพอต่อการรักษา จำเป็นต้องเข้ารับการปลูกถ่ายกระดูกก่อน เพื่อให้การทำรากฟันเทียมมีประสิทธิภาพมากที่สุด

3. การวางรากเทียม

ขั้นตอนนี้ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาเฉพาะที่ก่อนการผ่าตัด เมื่อการผ่าตัดเสร็จสิ้น ทันตแพทย์จะเย็บบาดแผล จากนั้นหลังจาก 1-2 อาทิตย์จะตัดไหมออก และต้องรออีกประมาณ 3-4 เดือนเพื่อให้รากฟันเทียมยึดติดกับกระดูกส่วนขากรรไกรอย่างสมบูรณ์

4. การฟื้นฟูหลังการผ่าตัด

ส่วนใหญ่แล้ว หากใส่รากฟันเทียมแบบทันที จะสามารถดำเนินขั้นตอนต่อไปได้ทันที แต่ในกรณีที่ใส่รากฟันเทียมประเภทอื่น ต้องรอให้รากฟันเทียมเชื่อมติดกับกระดูกประมาณ 2-6 เดือนก่อนเริ่มทำขั้นตอนต่อไป

5. การติดตั้งวัสดุที่เป็นหลักยึด

วัสดุที่เป็นหลักยึดมีลักษณะเป็นแกนโลหะหัวกลมที่ติดอยู่กับรากฟันเทียม เพื่อรองรับครอบฟันหรือสะพานฟัน จากนั้นหลังผ่านไป 1-2 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปากและทำครอบฟันหรือสะพานฟัน เพื่อยึดรากฟันเทียมกับกระดูกส่วนขากรรไกรให้มั่นคง โดยการใช้โลหะที่เป็นหลักยึดกับสารยึดติดทางทันตกรรมเข้าด้วยกัน

การดูแลหลังทำรากฟันเทียม

สำหรับคนไข้หลังจากฝังรากฟันเทียมใหม่ ๆ แล้วจะต้องทำการดูแลรักษารากฟันเทียมให้ดีและสม่ำเสมอ เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยหลังจากการรักษา คนไข้ควรปฎิบัติตามคำแนะนำดังนี้

1. ควรรับประทานอาหารอ่อนหรืออาหารเหลวจำพวกโจ๊กหรือข้าวต้มแทนก่อนในช่วงแรก เพื่อหลีกเลี่ยงเศษอาหารที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนบาดแผลและป้องกันการกระทบกระเทือนต่อรากฟันที่เพิ่งฝังเข้าไป 

2. ควรหลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นจัด เพื่อลดความเสี่ยงการอักเสบของบาดแผล

3. ต้องรับประทานยาที่ได้รับอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอไม่ให้ขาดช่วง เพื่อลดอาการอักเสบและอาการบวมในช่องปากหลังการทำรากฟันเทียม

4. หากคนไข้เป็นคนที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่ ต้องหลีกเลี่ยงหรือหยุดก่อน เพราะทั้งสองอย่างนี้จะทำให้บาดแผลที่เกิดจากการผ่าตัดนั้นอักเสบหรือรุนแรงกว่าเดิม และอาจถึงขั้นติดเชื้อได้

5. คนไข้สามารถดูแลช่องปากได้ตามปกติเหมือนฟันแท้ธรรมชาติ แต่ควรแปรงฟันให้ถูกวิธีและควรใช้ไหมขัดฟันเพื่อกำจัดเศษอาหารที่ติดในช่องฟัน

6. ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฤทธิเป็นกรดสูง เพราะอาจะทำให้บาดแผลอักเสบมากกว่าเดิมได้ ซึ่งควรใช้น้ำยาบ้วนปากล้างน้ำยาฆ่าเชื่อตามที่ทันตแพทย์สั่งแทน

7. คนไข้ควรทำตามคำแนะนำเบื้องต้นของแพทย์อย่างสม่ำเสมอและควรไปพบทันตแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อตรวจสอบอาการและผลการผ่าตัด

8. หากคนไข้มีพฤติกรรมขบฟันหรือกัดฟันระหว่างนอนหลับ ควรไปพบแพทย์เพื่อแก้ไขอาการดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่รากฟันเทียมจะได้รับ

9. หากมีความผิดปกติหลังจากการรักษาและการผ่าตัด ควรไปพบแพทย์ทันที

บทสรุป

การทำรากฟันเทียมเป็นวิธีการรักษาและแก้ปัญหาฟันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะเป็นการรักษาเฉพาะทางของทันตแพทย์โดยตรง นอกจากนี้ยังเป็นการรักษาที่ปลอดภัยอย่างมาก เพื่อวัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการรักษาผ่านการรับรองมาตราฐานระดับสากล เพื่อให้คนไข้ได้รับผลการรักษาที่ดีและมีประเภทที่ภาพมากที่สุด อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดปัญหาหรือโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจตามมาภายหลังด้วย

สำหรับใครที่กำลังมองหาคลินิกทันตกรรมสำหรับทำรากฟันเทียม โดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์โดยตรง สามารถติดต่อได้ที่ Dental Design Center เราเป็นคลินิกทำฟัน พัทยา ที่มีบริการทางทัตกรรมแบบครบวงจรไว้คอยให้บริการลูกค้าทุกท่านอย่างใส่ใจและรับประกันผลลัพธ์การรักษาที่มีประสิทธิภาพ