ฟันคุดคืออะไร? สาเหตุและอาการที่ควรรู้ก่อนเข้ารับการรักษา

ฟันคุดคืออะไร

ฟันคุดเป็นปัญหากวนใจที่พบได้บ่อย ซึ่งเป็นปัญหาที่อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันอื่น ๆ ตามมาได้ แต่เชื่อว่าหลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าฟันคุดคืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร และมีอาการอย่างไรบ้าง? ซึ่งในบทความนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับปัญหาฟันคุด ที่สร้างความเจ็บปวดไม่น้อยเลยทีเดียว

ฟันคุด คืออะไร?

close up shot nervous unsure insecure female coworker messing up documents worried someone notice biting fingernails anxiously frowning standing intense gray wall 176420 22784

ฟันคุด  คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาได้ตามปกติ มักจะฝังตัวอยู่ใต้เนื้อเยื่อของเหงือก และบริเวณกระดูกขากรรไกร ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นกับฟันกรามซี่สุดท้ายหรือฟันกรามซี่ในสุด โดยจะสามารถแบ่งลักษณะได้ตามรูปแบบการขึ้นของแนวฟันคุด มีทั้งฟันคุดที่ขึ้นในเเนวตรง, แนวนอน และแนวเฉียง ซึ่งจะต้องทำการรักษาโดยการถอนหรือผ่าฟันคุดโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

ทำความเข้าใจสาเหตุของการเกิดปัญหาฟันคุด

เมื่อรู้จักความหมายของฟันคุดแล้ว เราจะพาทุกคนมาทำความเข้าใจสาเหตุของการเกิดฟันคุดกันบ้าง เพราะหากปล่อยฟันคุดไว้จะมีความเสี่ยงต่อภาวะต่าง ๆ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาฟันคุดมีอยู่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น

  • เกิดปัญหาฟันผุที่บริเวณฟันกรามซี่ข้างเคียง
  • เป็นสาเหตุของการเกิดโรคปริทันต์หรือโรคเหงือก
  • เกิดจากเหงือกบริเวณที่ปกคลุมฟันคุดมีการอักเสบหรือติดเชื้อ
  • ฟันยื่น ฟันซ้อนเก กระดูกรอบรากฟัน หรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลาย ซึ่งเกิดจากการแรงดันตัวของฟันคุดที่พยายามจะดันขึ้นมา
  • เกิดความผิดปกติของเนื้อเยื่อที่หุ้มฟัน

การทำความเข้าใจสาเหตุของการเกิดปัญหาฟันคุด จะช่วยให้ทุกคนที่กำลังประสบปัญหาฟันคุด หรือกังวลว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ สามารถสังเกตอาการของตัวเองก่อนได้ เพราะรักษาได้อย่างทันเวลา! เนื่องจากปัญหาฟันคุดเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป และมักจะเกิดในช่วงอายุยี่สิบต้น ๆ หรือช่วงวัยรุ่นตอนปลาย

ฟันคุดมีอาการอย่างไร?

หากใครที่กังวลเกี่ยวกับปัญหาฟันคุด และสงสัยว่าอาการของปัญหาฟันคุดเป็นอย่างไร ที่เราจะสามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง ซึ่งอาการของปัญหาฟันคุดมีดังนี้ 

  • รู้สึกปวดฟันบริเวณฟันซี่หลังสุด หรือเจ็บเหงือก เนื่องจากฟันคุดพยายามโผล่ขึ้นมา หรืออาจมีการติดค้างอยู่ในเหงือกหรือกระดูกขากรรไกร
  • หากมีการติดเชื้อ จะทำให้เหงือกบริเวณฟันคุดมีอาการบวมแดง อักเสบ หรือเป็นหนองได้
  • มีอาการปวดร้าวที่ลามไปยังกราม ขมับ หรือศีรษะ จากแรงกดดันจากฟันคุดที่ดันฟันข้างเคียง
  • เมื่อฟันคุดมีการติดเชื้อ มักจะมีกลิ่นปากหรือมีรสขมในปากจากแบคทีเรีย
  • มีอาการบวมหรืออักเสบ ทำให้การอ้าปากลำบาก ไม่สะดวกในการเคี้ยวอาหาร
  • เมื่อฟันคุดที่พยายามโผล่ขึ้นมาในบริเวณที่ไม่เหมาะสม จะเข้ามาเบียดฟันซี่อื่นและทำให้เกิดความไม่สมดุลของฟันซี่อื่น ๆ โดยรวม
  • อาจเกิดฝีหรือเป็นไข้ ในกรณีที่เกิดการติดเชื้อในช่องปาก

ถอนฟันคุด vs ผ่าฟันคุด ต่างกันอย่างไร?

dentist man examining patient teeth white background 1308 92682

การถอนฟันคุดและผ่าฟันคุด ล้วนเป็นบริการทางทันตกรรมที่จะช่วยรักษาและแก้ไขปัญหาฟันคุด เนื่องจากเป็นฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาได้อย่างปกติ หรืออาจติดอยู่ในกระดูกหรือเหงือก จึงต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของทันตแพทย์ ซึ่งการถอนฟันคุดและผ่าฟันคุดมีความแตกต่างกัน ดังนี้

ถอนฟันคุด

การถอนฟันคุด เป็นกระบวนการทันตกรรมในกรณีที่สามารถถอนออกได้ เช่นเดียวกับการถอนฟันปกติ ตัวอย่างเช่น ฟันคุดเป็นฟันที่ไม่ติดกระดูกหรือเหงือกมากจนเกินไป และเหมาะกับการฟันคุดที่อยู่ตื้น และโผล่ขึ้นมาในช่องปากบางส่วน ไม่มีการเอียง หรือทับซ้อนกับฟันในซี่ข้างเคียง 

ซึ่งเป็นกระบวนการทันตกรรมที่มีขั้นตอนสั้นและง่ายกว่า มีอาการเจ็บและใช้เวลาฟื้นตัวน้อยกว่าการผ่าฟันคุด แต่ไม่สามารถถอนได้หากฟันคุดอยู่ลึกหรือเอียงจนเกินไป

ผ่าฟันคุด

การผ่าฟันคุด เป็นกระบวนการทันตกรรมในกรณีที่ฟันคุดอยู่ลึก อยู่ในตำแหน่งที่ติดกระดูก หรืออยู่ในตำแหน่งที่ไม่สามารถใช้การถอนได้ และเหมาะสำหรับการรักษาฟันคุดที่เอียงหรือนอนทับฟันซี่ข้างเคียง และอาจเกิดปัญหาการติดเชื้อหรือทำลายฟันซี่ข้างเคียงตามมา

ซึ่งเป็นกระบวนการทันตกรรมที่สามารถแก้ปัญหาฟันคุดในกรณีที่ซับซ้อนได้เป็นอย่างดี หรือในกรณีที่ต้องมีการเปิดเหงือกและตัดกระดูกเพื่อเข้าถึงฟัน แต่จะเป็นการรักษาที่ใช้เวลาฟื้นตัวนานกว่าการถอน และอาจมีอาการบวดหรือบวมมากกว่าอีกด้วย

ควรเลือกวิธีรักษาด้วยการถอนหรือผ่าฟันคุด?

การเลือกวิธีสำหรับรักษาฟันคุด ขึ้นอยู่กับการประเมินของทันตแพทย์ ซึ่งจะมีการพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัยร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น

  • ตำแหน่งของฟันคุดว่าอยู่ตื้นหรือลึก
  • ฟันคุดมีลักษณะเอียงหรือตรง
  • พิจารณาว่าฟันคุดมีผลต่อฟันซี่ข้างเคียงหรือไม่
  • มีอาการปวดหรืออักเสบร่วมด้วยหรือไม่

ข้อควรระวังของการถอนหรือผ่าฟันคุด คือ การพักฟื้น การปฏิบัติตัวตามคำสั่งของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด รวมถึงการรับประทานอาหารและยา เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และป้องกันการเกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ ตามมา

บทสรุป

ฟันคุด เป็นปัญหาที่ไม่มีใครต้องการให้เกิด เนื่องจากสร้างความเจ็บปวดไม่น้อยเลยทีเดียว และจะต้องมีการรักษาด้วยการถอนฟันและผ่าฟันคุด ขึ้นอยู่กับการประเมินของทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้เป็นการรักษาที่ดีและได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน รวมถึงการถอนหรือผ่าฟันคุดอย่างปลอดภัย โดยทันตแพทย์ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถติดต่อได้ที่ Dental Design Center คลินิกทำฟัน พัทยา ที่พร้อมดูแลทุกขั้นตอนอย่างใส่ใจ