10

การรักษารากฟัน

คือขบวนการกำจัดเชื้อจุลชีพที่อยู่ในโพรงประสาทฟัน หรือเนื้อเยื่อขนาดเล็ก ที่อยู่ใจกลางฟัน อันเป็นเหตุให้เกิดการติดเชื้อ อักเสบ ของโพรงเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน หากโพรงประสาทฟันบางส่วนถูกทำลายจะต้องทำการเอาออกเพื่อรักษาและทำความสะอาดส่วนที่เหลือให้ปราศจากเชื้อโรค และทำการซ่อมแซม อุดคลองรากฟันและบูรณะตัวฟัน เพื่อคืนความแข็งแรงและสวยงาม ให้ฟันกลับมาใช้งานได้ตามปกติ การรักษารากฟัน เป็นวิธีที่ช่วยให้คุณไม่จำเป็นต้องถอนฟันออกไป ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถช่วยรักษาฟันไว้ได้

โครงสร้างของฟัน และรากฟัน (Structure of Teeth) ประกอบด้วย

  1. เคลือบฟัน (Enamel) ชั้นเคลือบฟันเป็นผิวฟันชั้นที่อยู่นอกสุด และเป็นชั้นที่แข็งที่สุด มีหน้าที่ในการรับแรงบดเคี้ยว มีโครงสร้างเป็นผลึก ไม่มีทั้งเส้นประสาท และเส้นเลือด เวลาเริ่มมีฟันผุที่ชั้นเคลือบฟันจึงยังไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด
  2. เนื้อฟัน (Dentine) ชั้นเนื้อฟันจะเป็นชั้นที่อยู่ถัด ในเนื้อฟันนี้จะประกอบด้วยรูของท่อเนื้อฟันขนาดเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งเป็นที่รวมของเส้นประสาทรับความรู้สึก เวลามีฟันผุถึงชั้นนี้ เราจะเริ่มมีอาการเสียวฟัน
  3. โพรงประสาทฟัน (Pulp Chamber) โพรงประสาทฟัน เป็นช่องว่างที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อน ซึ่งประกอบด้วย เส้นเลือด เส้นประสาท และระบบน้ำเหลือง
  4. เหงือก (Gum) เหงือกเป็นส่วนเนื้อเยื่อที่ช่วยห่อหุ้มตัวฟัน และกระดูกขากรรไกรเอาไว้ รวมถึงเนื้อเยื่ออ่อนที่ปกคลุมกระดูกเบ้ารากฟัน
  5. กระดูกเบ้าฟัน (Alveolar Bone) กระดูกเบ้าฟันเป็นกระดูกขากรรไกรที่รากฟันฝังอยู่ มีลักษณะเป็นกระดูกพรุนที่มีความโค้งเว้า ทำหน้าที่ในการรองรับรากฟันแต่ละซี่

ทั้งนี้ส่วนของเคลือบฟัน และเนื้อฟันที่โผล่ออกมาด้านบนของเหงือกจะรวม เรียกว่า ตัวฟัน (Crown) ส่วนถัดลงมา จะเรียกว่า คอฟัน (Neck) ซึ่งก็คือ บริเวณรอยต่อระหว่างตัวฟันกับรากฟัน หรือบริเวณขอบเหงือกนั่นเอง และส่วนสุดท้าย รากฟัน (Root) เป็นส่วนของฟันที่อยู่ใต้เหงือกลึกลงไปในเบ้าฟัน

อวัยวะที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการปวดฟัน อักเสบติดเชื้อ หรือเป็นหนอง ได้แก่ โพรงประสาทฟัน
โพรงประสาทฟัน คือชั้นที่อยู่ด้านในสุดของฟัน ที่ประกอบด้วย เส้นประสาทของฟัน เส้นเลือดที่มาเลี้ยง รวมถึงท่อน้ำเหลือง ทำให้เมื่อมีฟันผุลุกลามมาในชั้นโพรงประสาทฟัน จึงทำให้เกิดการอาการปวดฟันที่ค่อนข้างรุนแรง ซึ่งถ้ามีการติดเชื้อลุกลามมากขึ้น เชื้อโรคจะกระจายลงสู่ปลายรากฟัน และทำให้รากฟันอักเสบ

image

สาเหตุส่วนใหญ่ของการที่โพรงประสาทฟันถูกทำลายหรือตายได้แก่

  • ฟันผุที่ลึกมากจนทะลุโพรงฟัน หากเราปล่อยปละละเลยฟันที่ผุ ไม่รีบไปรักษาโดยการอุดฟัน รอยผุก็จะใหญ่และลึกขึ้นเรื่อยจนอาจทะลุเข้าเส้นประสาทในโพรงฟันได้
  • ฟันแตก หรือหักทะลุโพรงฟัน
  • ฟันแตก หัก หรือสึก จนเนื้อฟันที่เหลืออยู่ไม่สามารถบูรณะได้ แม้จะยังไม่ทะลุโพรงฟัน คุณหมออาจพิจารณาให้รักษารากฟันก่อนที่จะทำการบูรณะด้วยครอบฟัน
  • มีหนองเกิดขึ้นบริเวณปลายราก
  • ฟันที่ได้รับอุบัติเหตุกระทบกระเทือนอย่างรุ่นแรงจนเกิดการอักเสบ หรือการตายของเนื้อเยื่อในโพรงฟัน โดยในบางกรณีอาจจะยังไม่เคยมีอาการปวดมาก่อน แต่อาจสังเกตุจากสีฟันที่เปลี่ยนไป เข้มขึ้น

ลักษณะอาการ ข้อบ่งชี้ว่าต้องรักษารากฟัน

  • เจ็บเวลา เคี้ยวหรือกัดอาหาร
  • มีอาการเสียวฟันเมื่อดื่มเครื่องดื่มร้อนหรือเย็น
  • มีอาการปวดแบบตุบๆตอนกลางคืน อยู่เฉยๆก็ปวดแม้ไม่มีสิ่งกระตุ้น
  • รู้สึกฟันหลวมหรือโยก
  • ฟันเปลี่ยนสี หรืออาจมีตุ่มหนองปูดออกมาที่เหงือก แม้จะไม่มีอาการ ซึ่งเราเรียกว่า ฟันตาย เมื่อถ่ายภาพเอ็กซเรย์จะพบว่ามีเงาดำอยู่ที่ปลายรากฟัน เงาดำที่ปลายรากฟันนั้นหมายถึง เชื้อโรคนั้นมีการลุกลามไปจนกระทั่งทำลายส่วนของเนื้อเยื่อทั้งโพรงประสาท ฟันแล้ว ลักษณะแบบนี้ก็จำเป็นที่จะต้องรักษารากฟันแม้ว่าจะไม่มีอาการใดๆ ก็ตาม และส่วนใหญ่จะมีทางเปิดของหนองออกมาด้วย

ขั้นตอนการรักษารากฟัน

CleanShot 2566 02 12 at 13.58.06
  1. ทันตแพทย์จะทำการเอ็กซเรย์ เพื่อตรวจดูรูปร่างและลักษณะของฟัน รวมถึงบริวณที่อักเสบและติดเชื้อ
  2. ทันตแพทย์จะใส่ยาชาบริเวณจุดนั้น และเปิดเข้าไปทำความสะอาดรากฟัน และใส่ยาลงไปในคลองรากฟัน ปิดรากฟันด้วยวัสดุอุดชั่วคราว
  3. บางกรณี เช่น การมีหนองบริเวณปลายรากฟัน ซึ่งจะเห็นเป็นเงาดำรอบๆปลายรากฟัน อาจจำเป็นต้องใช้เวลาหลายครั้งในการทำความสะอาด และเปลี่ยนยาในคลองรากฟันจนกว่าการติดเชื้อ หรือการอักเสบจะหายเป็นปกติ
  4. เมื่อไม่มีการอักเสบของรากฟันแล้ว ทันตแพทย์จะอุดปิดคลองรากฟันถาวรเพื่อรอการบูรณะตัวฟันต่อไป
  5. การบูรณะตัวฟันเพื่อให้ใช้งานได้ตามปกติภายหลังเสร็จสิ้นการรักษารากฟัน ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ใส่เดือยฟัน ครอบฟัน เนื่องจากฟันที่ผ่านการรักษารากฟันแล้วมักจะเปราะ แตกหักง่าย

ข้อควรปฏิบัติหลังการรักษารากฟัน

  1. ภายหลังรักษารากฟันใหม่ๆ โดยเฉพาะในครั้งแรกอาจมีอาการเจ็บได้บ้างใน 2-3 วันแรกและจะค่อยๆ จางหายไปเอง
  2. ควรระมัดระวังในการใช้งานซี่ฟันที่รักษาราก เนื่องจากปริมาณเนื้อฟันจะเหลือน้อยลงและฟันจะเปราะมากขึ้น
  3. ระหว่างรักษารากฟันหากวัสดุอุดฟันชั่วคราวเกิดหลุดออกมาให้ผู้ป่วยรีบกลับมาหาทันตแพทย์เนื่องจากเชื้อโรคในช่องปากสามารถเข้าสู่ภายในคลองรากฟันได้
  4. การรักษาคลองรากฟันเป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่อง ตามกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมหากผู้ป่วยละเลยไม่มาตามวันนัด ฟันซี่นั้นอาจจำเป็นต้องถูกถอนออก การปล่อยฟันที่เป็นโรคทิ้งไว้นาน ๆ ยังทำให้เชื้อโรคออกไปทำลายกระดูกรอบๆ ฟัน ซึ่งทำให้เกิดอาการเคี้ยวเจ็บ หรือ เกิดตุ่มหนองทั้งภายในช่องปาก หรือบริเวณใบหน้า ในกรณีที่กระดูกรองรับฟันถูกทำลายไปเป็นจำนวนมากอาจทำให้ไม่สามารถเก็บรักษาฟันไว้ได้
  5. หลังจากรักษารากฟันเสร็จแล้ว ควรรีบทำการบูรณะฟันซี่นั้นๆด้วยการใส่เดือยและทำครอบฟัน หากทิ้งไว้นานฟันอาจแตกหักก่อนที่จะทำการบูรณะได้

อย่างไรก็ตาม การรักษารากฟันเป็นการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษารากฟันกรามซึ่งมีจำนวนคลองรากฟัน 3-4 โพรง ทำให้ยากต่อการรักษา ทั้งหมดต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากผู้ป่วยในการมาตามนัด และทันตแพทย์ที่เชี่ยวชาญ มีความละเอียดรอบคอบ

คำถามการรักษารากฟันที่พบบ่อย

รักษารากฟันเจ็บไหม ?

การรักษารากฟัน เจ็บ แน่นอน เพราะฟันทุกซี่ซึ่งมีรากฟัน มีเส้นประสาท และเส้นเลือดในการหล่อเลี้ยง ฟัน แต่อาการเจ็บมากเจ็บน้อยแต่คนต่างกันขึ้นอยู่กับจำนวนซี่ และลักษณะซี่ฟัน แต่ในขบวนการรักษารากฟัน มีการฉีดยาชาเข้าร่วมในระหว่างการรักษาอยู่แล้ว จึงไม่รู้สึกเจ็บระหว่างการรักษา อาจจะรู้สึกตึงๆ บ้างระหว่างทำ

รักษารากฟันจัดฟันได้ไหม

จัดได้ตามปกติ และควรต้องรีบรักษารากฟันให้เสร็จก่อนถึงจะเริ่มจัดฟันได้ เพราะถ้าฟันซี่นั้นมีการติดเชื้อ และได้รับการจัดฟัน การเคลื่อนฟัน ยิ่งจะส่งผลเสียต่อฟันซี่นั้นมากยิ่งกว่าเดิม

ถอนฟันทิ้ง แทนการรักษารากฟันดีกว่าไหม

ฟันแท้ถือเป็นสิ่งมีค่า และมีความมั่นคงแข็งแรง ใช้งานได้อย่างเป็นตามธรรมชาติ ไม่มีฟันเทียม ชนิดใดดีไปกว่าฟันแท้ของตัวคุณเอง ดังนั้นหากฟันที่มีปัญหายังสามารถรักษารากฟันได้ ก็ควรจะรักษาเก็บไว้ เพราะการถอนฟันทิ้งไปเลยไม่ใช่การจบปัญหาเพราะยังมีปัญหาของช่องว่างระหว่างฟันที่ส่งผลให้เกิดความล้ม ฟันเอียงตามมาได้ มีปัญหาของโรค เหงือกและปัญหาการบดเคี้ยวตามมาให้แก้ไข ไม่รู้จบ

การเตรียมตัวก่อนรักษารากฟัน

  • ก่อนที่จะพบทันตแพทย์รักษารากฟัน จะมีการวินิจฉัยก่อนว่ามีฟันผุทะลุโพรงประสาทต้องรักษารากฟัน คุณหมอที่ตรวจจะส่งปรึกษาคุณหมอเฉาะทางด้านใส่ฟันก่อนว่า ฟันซี่ดังกล่าวสามารถทำครอบฟันได้หรือไม่ เพราะถ้าทำครอบฟันไม่ได้ ฟันซี่นั้นก็อาจถูกแนะนำให้ถอนออก การรักษารากฟันจึงไม่จำเป็น
  • โดยทั่วไปการรักษารากฟันจะใช้เวลา 2 ครั้ง
    • ครั้งแรก คือ การทำความสะอาดโพรงประสาทฟัน โดยการขยายขนาดคลองรากฟัน รวมถึงใช้น้ำยาทำความสะอาดเพื่อกำจัดเชื้อโรคที่อยู่ในรากฟัน
    • ครั้งที่สอง คือ เมือโพรงประสาทฟันและรากฟันสะอาดปราศจากเชื้อโรค คุณหมอจะอุดคลองรากฟันด้วยวัสดุอุดคลองรากฟัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และจะทำเดือยฟัน (core build up) เพื่อเป็นแกนกลางในการเสริมสร้างความแข็งแรงของการทำครอบฟันต่อไป

วิธีการรักษารากฟัน

  1. การรักษารากฟัน ทันตแพทย์จะทำร่วมกับการฉีดยาชา จะใช้แผ่นยางบางๆ เพื่อแยกฟัน (Rubber dam) ที่มีปัญหาออกจากฟันซี่อื่น และป้องกันการปนเปื้อนของน้ำลายเข้าไปในคลองรากหัน
  2. หลังจากนั้นทันตแพทย์จะเอาฟันส่วนที่ผุออก กำจัดเนื้อฟันที่อักเสบหรือติดเชื้อออกจนถึงส่วนโพรงประสาทฟัน
  3. ทำความสะอาดรากฟัน และใส่ยาลงไปในคลองรากฟัน
  4. ปิดรากฟันด้วยวัสดุอุดชั่วคราว เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำอย่างไรก็ตาม วิธีการรักษารากฟัน ในบางรายไม่ได้จบในครั้งเดียวจำเป็นต้องใช้เวลาหลายครั้งในการทำความสะอาด รวม ถึงเปลี่ยนยาในคลองรากฟันเพื่อฆ่าเชื้อจนกว่าการติดเชื้อ หรือการอักเสบจะหายเป็นปกติ
  5. เมื่อพบว่า ไม่เกิดการอักเสบแล้ว ทันตแพทย์ก็จะอุดปิดคลองรากฟัน และใส่เดือยฟัน เพื่อเป็นแกนเสริมสร้างความแข็งแรง เพื่อทำครอบฟันเป็นขั้นตอนต่อไป

รักษารากฟัน กี่วันหายปวด

บางครั้งทันตแพทย์อาจสามารถรักษารากฟันเสร็จได้ในครั้งเดียว ในกรณีที่การติดเชื้อไม่ ลุกลามรุนแรง หากไม่มีอาการอื่นๆแทรกซ้อน ใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 2-3 สัปดาห์ จึงจะหายปวด และกลับมาเป็นปกติ

รักษารากฟัน กี่วันเสร็จ ใช้เวลานานไหม

โดยมากใช้เวลา 2 ครั้งในการมาพบทันตแพทย์ ห่างกัน 1-2 สัปดาห์ ขึ้นกับสภาพการติดเชื้อของฟันซี่นั้นว่ามีมากน้อยเพียงใด บางกรณีที่มีการติดเชื้อหรือหนองปลายรากมาก อาจต้องใช้เวลาในการใส่ยาหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน

รักษารากฟันครั้งเดียว ทำได้ไหม

แต่หากประสาทฟันยังไม่มีการติดเชื้อ รอยโรคยังไม่ลงไปถึงบริเวณปลายราก อาจสามารถรักษารากฟันให้เสร็จในครั้งเดียวได้ ซึ่งเรียกว่า one visit root canal treatment

ภายหลังการรักษารากฟัน ทำไมจึงต้องใส่ครอบฟัน

หลังจากรักษารากฟันเสร็จแล้ว ทันตแพทย์มักแนะนำให้ครอบฟันซี่นั้นๆ เพื่อป้องกันการแตกหักของตัวฟัน เนื่องจากฟันที่รักษารากฟันแล้ว จะมีความเปราะแตกหักง่ายมากกว่าฟันที่ไม่ได้รับการรักษารากฟัน เพื่อป้องกันการแตกหักของฟันและรากฟันจึงควรใส่ครอบฟันตามที่ทันตแพทย์แนะนำ โดยสามารถเลือกประเภทครอบฟันได้ตามความเหมาะสม

อาการหลังรักษารากฟัน มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง ?

หลังจากรักษารากฟันเสร็จใหม่ ๆ คนไข้จะมี อาการหลังรักษารากฟัน คือ เจ็บ ในช่วง 2-3 วันแรก อาจร่วมกับการบวมของเหงือกด้วยแต่อาการเจ็บจะค่อยๆ ทุเลาและจางหายไปเอง สามารถบรรเทาได้ด้วยยาระงับปวดทั่วไป

อีกกรณีคือมีอาการปวดหลังการรักษา ซึ่งเกิดจากคลองรากฟันยังไม่สะอาดแล้วอุด ขยายคลอง รากฟันไม่หมดหรือฟันแตก การรักษาอาจต้องมีการรื้อและรักษาใหม่

รักษารากฟันในพัทยาที่ไหนดี

แนะนำเป็นที่ที่มีคุณหมอเฉพาะทางด้านรักษารากฟัน และคุณหมอเฉพาะทางด้านครอบฟัน ที่เด็นทัลดีไซน์เซ็นเตอร์พัทยา เรามีทันตแพทย์เฉพาะทางทั้งสองสาขาเพื่อดูแลสุขภาพฟันของท่าน