16

ทันตกรรมด้วยเลเซอร์ (Laser Dentistry)

ในทางทันตกรรมได้มีการนำเครื่องเลเซอร์มาใช้ประโยชน์หลายด้าน เช่น 

  • ฟอกสีฟัน
  • การรักษา ทำความสะอาดร่องลึกปริทันต์
  • การรักษาโรคเหงือกอักเสบ
  • การศัลยกรรมตกแต่งเหงือก
  • การห้ามเลือด
  • การผ่าตัดชิ้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัย ( Excisional and incisional biopsies )
  • การผ่าฟันคุด ( Exposure of unerupted teeth )
  • การผ่าตัดเนื้องอก ( Fibroma removal )
  • การตัดเนื้อเยื่อและการตกแต่งเนื้อเยื่อ ( Frenectomy and frenotomy )
  • การรักษาด้วยการปลูกรากฟันไทไทเนียม ( Implant recovery)
  • การระบายหนอง ( Incision and drainage of abscess )
  • แผลร้อนในในปาก ( Leukoplakia )
  • การตัดเหงือกคลุมฟัน ( Operculectomy )
  • การตัดเส้นประสาทฟัน ( Pulpotomy )
  • การตัดเส้นประสาทฟันในการรักษารากฟัน
  • ลดการขยายตัวของปุ่มเหงือก ( Reduction of gingival hypertrophy )
  • เพิ่มความยาวของฟัน ( Soft tissue crown lengthening )
  • การรักษาแผลในช่องปาก ( Treatment of aphthous ulcers )
image

ในปัจจุบันส่วนใหญ่แล้วเลเซอร์ได้ถูกนำมาใช้ในงานผ่าตัดตกแต่งเหงือกเป็นส่วนใหญ่

  • แก้เหงือกดำด้วยเลเซอร์
  • ตกแต่งเหงือกด้วยเลเซอร์(แก้ยิ้มเห็นเหงือก)
  • การผ่าตัดเส้นรั้งฟรีนุ่ม (Frenum) ด้วยเลเซอร์
  • รักษาโรคเหงือกด้วยเลเซอร์
CleanShot 2566 04 10 at 16.32.07

เลเซอร์เหงือกช่วยอะไรบ้าง?

เลเซอร์เหงือก เป็นวิธีการเอาเนื้อเยื่อเหงือกบางส่วนออกเพื่อรักษาโรคเกี่ยวกับเหงือกและช่วยปรับรูปเหงือกให้สวยงาม โดยประโยชน์ของการเลเซอร์เหงือก มีดังนี้

  1. ช่วยแก้ปัญหาเหงือกดำ
  2. ช่วยตกแต่งความสูงของขอบเหงือก แก้ปัญหายิ้มเห็นเหงือกเยอะ
  3. ช่วยแก้ปัญหาเหงือกไม่เท่ากันได้
  4. ช่วยแก้ไขปัญหาเหงือกบวมโตในระหว่างการจัดฟัน
  5. ช่วยกำจัดเนื้อเยื่อเหงือกอักเสบ
  6. ใช้ในการผ่าตัดเส้นรั้ง (Frenum) เพื่อป้องกันปัญหาฟันคู่หน้าห่างหลังจัดฟันเสร็จ

ข้อดีของการใช้เลเซอร์ผ่าตัดตกแต่งเหงือก

  1. ผ่าตัดเสร็จรวดเร็ว ใช้เวลาน้อย
  2. ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
  3. ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังผ่าตัดได้ เนื่องจากไม่ได้ใช้มีดผ่าตัด
  4. ไม่ต้องมีการเย็บแผล จึงไม่ต้องกลับมาตัดไหม
  5. อาการเจ็บปวดหลังทำน้อยกว่า

ข้อเสียของการเลเซอร์เหงือก

  1. มีราคาแพง
  2. ต้องอาศัยทันตแพทย์ที่มีประสบการณ์สูงในการผ่าตัด ด้านตกแต่งเหงือกโดยเฉพาะ

การเตรียมตัวก่อนเลเซอร์เหงือก

ก่อนวันทำเลเซอร์เหงือก ทันตแพทย์จะนัดตรวจสุขภาพฟัน เตรียมความพร้อมช่องปาก ดังนี้

  1. เอกซ์เรย์ (X-Ray) ช่องปาก
  2. มาร์กจุดที่จะใช้เลเซอร์ผ่าตัด
  3. อธิบายแผนการรักษาเพื่อให้ผู้รับบริการได้ทราบเพื่อการเตรียมตัวก่อนวันผ่าตัดเหงือก
  4. หากมีโรคประจำตัวหรือมียาทานประจำ ควรปรึกษาทันตแพทย์ทุกครั้ง
  5. หากเป็นคนที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ควรทำความสะอาดช่องปากให้สะอาดเป็นพิเศษ

ขั้นตอนการเลเซอร์เหงือก

CleanShot 2566 04 10 at 16.34.05

การเลเซอร์เหงือกจะใช้เวลาประมาณ 1–2 นาทีต่อซี่ ขึ้นอยู่กับลักษณะเหงือกที่ต้องผ่าตัดออก และก่อนเริ่ม ทันตแพทย์จะตรวจสภาพเหงือกเบื้องต้นเพื่อประเมินความเหมาะสม หากมีจุดที่ต้องเลเซอร์เหงือกหลายจุด จะแบ่งทำเฉพาะจุดและนัดหมายเลเซอร์ในครั้งต่อไป สำหรับขั้นตอนการเลเซอร์เหงือกมีดังนี้

  1. ทันตแพทย์จะฉีดยาชาบริเวณเหงือกที่ต้องการผ่าตัด
  2. ทันตแพทย์จะใช้เลเซอร์ตัดเหงือกออก
  3. ในระหว่างการใช้เลเซอร์ผ่าตัดเหงือก จะใช้เครื่องดูดน้ำลายไปควบคู่กัน
  4. หลังจากตัดเหงือกไปบางส่วน ทันตแพทย์จะใช้เลเซอร์ในการตกแต่งเหงือกให้สวยงาม
  5. เมื่อผ่าตัดเสร็จแล้ว จะใช้ผ้าก๊อตปิดที่แผล

หลังทำเลเซอร์เหงือก หากขอบกระดูกเดิมไม่ได้ถูกแก้ไข จะทำให้เหงือกสามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้ ทั้งนี้การงอกใหม่ของเหงือกขึ้นอยู่กับพันธุกรรม โครงสร้างขอบกระดูก และการดูแลรักษาสภาพฟันของแต่ละคน หากคุณดูแลรักษาสภาพฟันอย่างถูกต้อง ผลของเลเซอร์เหงือกจะอยู่นานมากขึ้น  การผ่าตัดเหงือกด้วยเลเซอร์ มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำและไม่เป็นอันตราย เนื่องจากใช้เวลาไม่นาน ไม่มีการเย็บแผลและไม่ทำให้เกิดเลือดซึม อีกทั้งรอยแผลยังมีขนาดเล็ก สามารถหายเองได้ภายใน 2 สัปดาห์

การผ่าตัดเส้นรั้ง หรือ ฟีนุ่ม (Frenum) 

CleanShot 2566 04 10 at 16.34.17

ฟีนุ่ม (Frenum) หรือเนื้อยึดในช่องปาก เป็นแถบเนื้อเยื่อที่ยึดจากร่องปากมายังสันเหงือก โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องผ่าตัดออก แต่ถ้าฟีนุ่มสร้างปัญหาอื่นๆ ให้ช่องปาก เช่น แรงดันของพังผืดเหงือกทำให้ฟันหน้าห่าง ฟีนุ่มขัดขวางการใส่ฟันเทียม มีปัญหาการพูดและการออกเสียงไม่ชัดเพราะพังผืดยึดใต้ลิ้นสั้น ฟีนุ่มทำให้ทำความสะอาดฟันยากขึ้น แพทย์อาจพิจารณาให้ผ่าตัดออก

วิธีรักษาด้วยการผ่าตัดพังผืดเหงือก

  • แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่
  • ผ่าตัดพังผืดและเลาะเนื้อเยื่อเส้นใย
  • เย็บแผล
  • ทันตแพทย์จะนัดตัดไหม 7 วัน หลังจากการผ่าตัด หรือ หากทำการตัดด้วยเลเซอร์ ก็ไม่จำเป็นต้องเย็บแผล แต่ต้องเข้ามาให้แพทย์ตรวจซ้ำอีกครั้ง ประมาณ 1 เดือน

ใครที่ควรตัดฟีนุ่ม 

ทันตแพทย์มักจะแนะนำให้คนไข้ที่มีฟันหน้าห่าง สาเหตุจากเนื้อยึดริมฝีปากหรือฟีนุ่มเกาะต่ำ ทำให้มีแรงดันจากเอ็นยึดนี้ทำให้ฟันเคลื่อนตัวออกจากกัน ดังนั้นคุณหมอจึงแนะนำให้ทำการจัดฟันร่วมกับการตัดฟีนุ่ม เพื่อเรียงฟันให้ชิดกันได้สนิทและไม่มีปัญหาฟันเคลื่อนออกห่างจากกันอีก

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการผ่าตัดฟีนุ่ม

  1. หากจัดฟันเสร็จแต่ยังไม่ตัดฟีนุ่ม อาจทำให้ฟันหน้ากลับมาห่างอีกครั้ง
  2. คนไข้อาจไม่รู้สึกเจ็บปวดระหว่างผ่าตัดเนื่องจากใช้ยาชาเฉพาะที่

ทำไมคนไข้จัดฟันบางคนต้องตัดฟีนุ่ม(Frenum)หรือ เอ็นยึดเหงือก ?

ในบางเคสที่มีฟันห่าง อาจเกิดจากเอ็นยึดร่องเหงือกเกาะสูงผิดปกติ และแยกให้ฟันคู่หน้าห่างออกจากันซึ่งควรทำการศัลยกรรมตัดแต่งในระหว่างจัดฟัน หรือ หลังจัดฟันเสร็จ (ขึ้นอยู่กับเคส) ในเคสที่จำเป็นต้องทำศัลยกรรมตัดแต่งฟีนุ่ม จะทำโดยทันตแพทย์ด้านศัลยกรรมช่องปากซึ่งเป็นการเปลี่ยนตำแหน่งที่เกาะของเอ็นยึดตัวนี้ ให้ห่างจากตัวฟัน ใช้เทคนิคการใส่ยาชาก่อนตัดและมีเย็บแผลหลังตัด หรืออาจจะใช้เป็นเลเซอร์ ซึ่งคนไข้จะไม่มีอาการเจ็บในระหว่างทำและหลังทำการรักษา   หากจัดฟันเสร็จเเล้วแต่ยังไม่ตัดฟีนุ่ม อาจส่งผลทำให้ฟันหน้ากลับมาห่างอีกครั้งได้