นอนกัดฟันอันตรายไหม? ส่งผลเสียขนาดไหนกับฟันและช่องปาก?

02 sleep bruxism or teeth grinding

นอนกัดฟันอันตรายไหม? ส่งผลเสียขนาดไหนกับฟันและช่องปาก?

หลายคนที่กำลังเจอปัญหานอนกัดฟัน จนเริ่มรู้สึกว่ากระทบกับสุขภาพช่องปาก คงอยากรู้ว่าสาเหตุที่กัดฟันตอนนอนเกิดจากอะไร และวิธีการรักษาอาการนอนกัดฟันทำยังไงได้บ้า

  • การนอนกัดฟันถือเป็นปัญหาที่กระทบกับสุขภาพช่องปากโดยตรง ซึ่งทำให้รู้สึกปวดและล้าบริเวณขากรรไกร, ฟันมีอาการร้าว บิ่น และแตก, ฟันสั้นและบางลงกว่าเดิม และกรามมีขนาดใหญ่ขึ้น
  • โดยวิธีการรักษาอาการนอนกัดฟัน มีด้วยกันหลายวิธี ทั้งการจัดการกับความเครียดของตัวเอง, การใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ, การฉีดโบท็อกซ์, การจัดฟันแบบต่าง ๆ และการใช้ฟันยาง เป็นต้น

ปัญหานอนกัดฟันที่ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก แต่ส่งผลกระทบหลายอย่าง ทำให้หลายคนที่กำลังเจอปัญหานี้อยู่ อยากหาทางออกเพื่อรักษาและป้องกันไม่ให้ตัวเองกัดฟันตอนนอนอีก วันนี้ Dental Design Pattaya เลยจะมาแชร์วิธีการรักษาและการป้องกันปัญหาการนอนกัดฟัน พร้อมบอกวิธีการสังเกตว่าต้องดูยังไงถึงจะรู้ว่าเรามีอาการนอนกัดฟัน

การนอนกัดฟัน คืออะไร?

ตื่นเช้าขึ้นมาอยู่ดี ๆ ก็รู้สึกปวดฟันแปลก ๆ แล้วมีอาการแบบนี้ทุกเช้า ให้สันนิษฐานไว้เลยว่าเป็นเพราะนอนกัดฟันแน่ ๆ ซึ่งการนอนกัดฟัน หรือ Bruxism  คือ ภาวะที่ร่างกายกัด บด หรือขบฟัน แบบอัตโนมัติที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาโดยเฉพาะตอนนอนหลับ

โดยส่วนมากคนที่กัดฟันตอนนอนหลับ เมื่อไปตรวจสุขภาพเพิ่มมักจะเจอความผิดปกติที่เกี่ยวกับการนอนอื่น ๆ ร่วมด้วย อย่างการนอนกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ซึ่งอาการนอนกัดฟันที่ไม่รุนแรงอาจยังไม่จำเป็นต้องรักษา แต่ใครที่เริ่มนอนกัดฟันถี่และแรงจนรู้สึกปวดหัวและขากรรไกร จะต้องเข้ามารับการรักษาเพื่อไม่ให้อาการลุกลามไปมากกว่านี้

สาเหตุของการกัดฟันตอนนอน มีอะไรบ้าง?

  • ความเครียด เป็นสาเหตุสำคัญของการกัดฟันตอนนอน เพราะร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลและอะดรีนาลีนออกมา ทำให้เลือดสูบฉีด กล้ามเนื้อเกร็ง จนเกิดเป็นอาการนอนกัดฟัน
  • สารกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ในช่วงก่อนเข้านอน
  • ลักษณะนิสัย หรือบุคลิกภาพส่วนตัว โดยคนที่มีโอกาสเสี่ยงนอนกัดฟัน มักจะเป็นคนที่มีนิสัยก้าวร้าว อารมณ์ฉุนเฉียว รวมถึงคนที่สมาธิสั้นด้วย
  • อายุ ถือเป็นเรื่องปกติที่เด็ก ๆ จะกัดฟันตอนนอน แต่เมื่อโตขึ้นหรือเข้าสู่วัยรุ่นอาการนอนกัดฟันก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น
  • ยารักษาโรค บางอย่างมีผลข้างเคียงที่กระทบต่อสมองและจิตใจ ทำให้เพิ่มโอกาสการนอนกัดฟัน อย่างยาแก้โรคซึมเศร้า เป็นต้น
Cover sleep bruxism or teeth grinding

วิธีเช็กว่าตัวเองมีอาการนอนกัดฟันหรือไม่

  • ใช้บริการตรวจสุขภาพการนอน หรือ Sleep Test ตามสถานพยาบาลต่าง ๆ ที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งจะมีการวัดการทำงานของกล้ามเนื้อที่ใช้สำหรับบดเคี้ยวในขณะนอนหลับ
  • มีอาการปวดบริเวณขากรรไกร หลังตื่นนอนตอนเช้าทุกวันให้สังเกตว่า ตัวเองรู้สึกปวด เจ็บ หรือตึงบริเวณขากรรไกร ใบหู หรือแก้มไหม ถ้ามีก็แสดงว่าอาจจะมีอาการนอนกัดฟัน
  • มีอาการเสียวฟันเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ตอนทานของร้อน ของเย็น หรือตอนแปรงฟัน ซึ่งแสดงว่าผิวฟันเริ่มสึกหรอจากการนอนกัดฟัน
  • ใช้แผ่นบรั๊กเชคเกอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบอาการนอนกัดฟันขณะนอนหลับนั่นเอง

กัดฟันตอนนอน ส่งผลเสียยังไงบ้าง?

  • รู้สึกปวดและล้าบริเวณขากรรไกร ซึ่งอาจส่งผลให้เคี้ยวอาหารไม่ดีและอ้าปากไม่ค่อยได้ 
  • ฟันมีอาการร้าว บิ่น และแตก ซึ่งถ้าปล่อยไว้นาน ๆ อาจทำให้ฟันสึกจนทะลุโพรงประสาทได้
  • ฟันสั้นและบางลงกว่าเดิม ซึ่งอาจทำให้มีอาการเสียวฟันตามมา แถมยังส่งผลกระทบกับรูปหน้า ทำให้ใบหน้าดูสั้นลงกว่าเดิมได้
  • กรามมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งบางคนอาจมีปุ่มกระดูกบริเวณกรามนูนออกมา บางคนมีขนาดกล้ามเนื้อตรงแก้มใหญ่ขึ้น ส่งผลให้ใบหน้าดูเหลี่ยมมากกว่าเดิม

หลังจากที่ทุกคนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการนอนกัดฟันกันไปแล้ว ก็ตามมาดูวิธีการรักษาอาการนอนกัดฟันกันต่อเลย ว่าจริง ๆ แล้วสามารถทำยังไงได้บ้าง เพื่อให้เราเลิกกัดฟันตอนนอนสักที

วิธีการรักษาอาการนอนกัดฟัน มีทั้งหมดกี่แบบ?

1. การบำบัดรักษา

03 sleep bruxism or teeth grinding
  • ฝึกการวางตำแหน่งปากและขากรรไกร ให้ถูกต้องและเหมาะสม โดยจะต้องร่วมมือกับทันตแพทย์เพื่อให้รู้ตำแหน่งการสบฟันและขากรรไกรที่เหมาะกับตัวเอง จากนั้นจึงค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับที่ทันตแพทย์แนะนำ
  • จัดการกับความเครียดของตัวเอง แต่ละคนมีหนทางในการคลายความเครียดที่ไม่เหมือนกัน เมื่อไรที่เรารู้ตัวเองแล้วว่าเรานอนกัดฟัน ให้ลองหากิจกรรมผ่อนคลาย ๆ ทำก่อนนอน ไม่ว่าจะเป็น การออกกำลังกาย การนั่งสมาธิ การฟังเพลง หรือการอ่านหนังสือดี ๆ สักเล่ม

2. การใช้ยารักษา

04 sleep bruxism or teeth grinding
  • ใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ ในเบื้องต้นทันตแพทย์มักจะเริ่มจากการจ่ายยาคลายกล้ามเนื้อ ให้กับผู้ป่วยที่มีอาการนอนกัดฟันไม่รุนแรงมาก โดยให้คนไข้ใช้ก่อนนอนเพื่อบรรเทาอาการ แต่จะใช้รักษาในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น
  • ฉีดโบท็อกซ์ ถือเป็นวิธีการรักษาปัญหานอนกัดฟัน สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการนอนกัดฟันค่อนข้างรุนแรง และเคยรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แต่ไม่เป็นผล ก็สามารถใช้การฉีดโบท็อกซ์ช่วยบรรเทาได้

3. การรักษาทางทันตกรรม

05 sleep bruxism or teeth grinding
  • การจัดฟันแบบต่าง ๆ สามารถช่วยแแก้ไขปัญหาอาการนอนกัดฟัน ที่มีต้นเหตุมาจากการเรียงตัวของฟันที่ไม่เหมาะสมได้
  • การทำทันตกรรมอื่น ๆ อย่างการแต่งพื้นผิวฟันหรือการครอบฟัน จะช่วยรักษาฟันที่เสื่อมสภาพจากการกัดฟันตอนนอนได้
  • การใช้ฟันยาง หรือเฝือกสบฟัน ซึ่งถูกคิดค้นมาเพื่อป้องกันความเสียหายของฟันที่เกิดจากการบดหรือขบฟันแรงเกินไป โดยจะต้องใส่ไว้ระหว่างนอนหลับนั่นเอง

ป้องกันการนอนกัดฟัน ยังไงได้บ้าง?

06 sleep bruxism or teeth grinding
  • พยายามไม่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ในช่วงก่อนนอน
  • หาวิธีผ่อนคลายก่อนเข้านอน เพื่อลดอาการเครียดหรือความวิตกกังวล
  • เลี่ยงพฤติกรรมการกัดสิ่งของต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ดินสอ ปากกา หรือของที่มีความแข็ง
  • ฝึกฝนการนอนที่มีประสิทธิภาพ อย่างการเข้านอนตรงเวลาและการจัดระเบียบห้องนอน ซึ่งช่วยลดโอกาสการนอนกัดฟันได้
  • หมั่นตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุก ๆ 6 เดือน เพื่อเช็กสภาพช่องปากและฟัน หากมีปัญหาจะได้รักษาทันท่วงที

รายละเอียดการครอบฟัน

ทั้งหมดนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับการนอนกัดฟัน ว่ามีสาเหตุมาจากอะไรและมีวิธีการรักษาอาการนอนกัดฟันยังไงได้บ้าง ที่น่าจะช่วยให้ทุกคนสามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่นำไปสู่การกัดฟันตอนนอนได้ และหากใครกำลังสนใจอยากตรวจเช็กสุขภาพฟัน จัดฟัน ครอบฟัน รวมถึงการทำฟันปลอมและรากฟันเทียม ก็สามารถมาใช้บริการกับเราที่ Dental Design Pattaya ศูนย์ทันตกรรมและคลินิกทำฟัน พัทยา ด้วยการบริการที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย เพื่อความพึงพอใจสูงสุดของคนไข้

Dental Design Pattaya คลินิกทันตกรรมครบวงจร มาตรฐานระดับโลก

  • มั่นใจได้ในการบริการและคุณภาพในการรักษา ด้วยทีมทันตแพทย์ที่ผ่านการศึกษาจากสถาบันทั้งในและนอกประเทศ มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์มากมาย
  • เพียบพร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัยและครอบคลุมทุกการรักษา 
  • สร้างรอยยิ้มที่สวยงามด้วยการจัดฟัน พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวให้ดียิ่งขึ้น
  • คืนความแข็งแรงให้กับฟันด้วยการรักษารากฟัน ให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

AkBg9BD4hMLH9951XtWzx 5l8Xc6Jwp63p48lJabPPakkEnB29sh2zcQKSuvjtHo0tLa4JkdYr1fGI1t9up8uLwcziwwVMQimvaLA QzKfR4ZqOwxBZSylyzOmVGEP0oRvbii51XxPUe iYz8l5u Q
tRCwCVIsclAclx7hd7WT7vwZqTEV0TLWsdM fK5xPXa8vJdtXWkwyxam9O5feCiPlw7fxdpqIIahwP2bFtR8lVN6 YuxYr z5hzClKdy5QDouARncPCY3VX9p8slE1v5E2OIusBUvLI5yS UPN SkQ

นอนกัดฟัน, อาการนอนกัดฟัน