ทันตกรรมด้วยเลเซอร์ (Laser Dentistry)
ในทางทันตกรรมได้มีการนำเครื่องเลเซอร์มาใช้ประโยชน์หลายด้าน เช่น
- ฟอกสีฟัน
- การรักษา ทำความสะอาดร่องลึกปริทันต์
- การรักษาโรคเหงือกอักเสบ
- การศัลยกรรมตกแต่งเหงือก
- การห้ามเลือด
- การผ่าตัดชิ้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัย ( Excisional and incisional biopsies )
- การผ่าฟันคุด ( Exposure of unerupted teeth )
- การผ่าตัดเนื้องอก ( Fibroma removal )
- การตัดเนื้อเยื่อและการตกแต่งเนื้อเยื่อ ( Frenectomy and frenotomy )
- การรักษาด้วยการปลูกรากฟันไทไทเนียม ( Implant recovery)
- การระบายหนอง ( Incision and drainage of abscess )
- แผลร้อนในในปาก ( Leukoplakia )
- การตัดเหงือกคลุมฟัน ( Operculectomy )
- การตัดเส้นประสาทฟัน ( Pulpotomy )
- การตัดเส้นประสาทฟันในการรักษารากฟัน
- ลดการขยายตัวของปุ่มเหงือก ( Reduction of gingival hypertrophy )
- เพิ่มความยาวของฟัน ( Soft tissue crown lengthening )
- การรักษาแผลในช่องปาก ( Treatment of aphthous ulcers )
ในปัจจุบันส่วนใหญ่แล้วเลเซอร์ได้ถูกนำมาใช้ในงานผ่าตัดตกแต่งเหงือกเป็นส่วนใหญ่
- แก้เหงือกดำด้วยเลเซอร์
- ตกแต่งเหงือกด้วยเลเซอร์(แก้ยิ้มเห็นเหงือก)
- การผ่าตัดเส้นรั้งฟรีนุ่ม (Frenum) ด้วยเลเซอร์
- รักษาโรคเหงือกด้วยเลเซอร์
เลเซอร์เหงือกช่วยอะไรบ้าง?
เลเซอร์เหงือก เป็นวิธีการเอาเนื้อเยื่อเหงือกบางส่วนออกเพื่อรักษาโรคเกี่ยวกับเหงือกและช่วยปรับรูปเหงือกให้สวยงาม โดยประโยชน์ของการเลเซอร์เหงือก มีดังนี้
- ช่วยแก้ปัญหาเหงือกดำ
- ช่วยตกแต่งความสูงของขอบเหงือก แก้ปัญหายิ้มเห็นเหงือกเยอะ
- ช่วยแก้ปัญหาเหงือกไม่เท่ากันได้
- ช่วยแก้ไขปัญหาเหงือกบวมโตในระหว่างการจัดฟัน
- ช่วยกำจัดเนื้อเยื่อเหงือกอักเสบ
- ใช้ในการผ่าตัดเส้นรั้ง (Frenum) เพื่อป้องกันปัญหาฟันคู่หน้าห่างหลังจัดฟันเสร็จ
ข้อดีของการใช้เลเซอร์ผ่าตัดตกแต่งเหงือก
- ผ่าตัดเสร็จรวดเร็ว ใช้เวลาน้อย
- ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
- ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังผ่าตัดได้ เนื่องจากไม่ได้ใช้มีดผ่าตัด
- ไม่ต้องมีการเย็บแผล จึงไม่ต้องกลับมาตัดไหม
- อาการเจ็บปวดหลังทำน้อยกว่า
ข้อเสียของการเลเซอร์เหงือก
- มีราคาแพง
- ต้องอาศัยทันตแพทย์ที่มีประสบการณ์สูงในการผ่าตัด ด้านตกแต่งเหงือกโดยเฉพาะ
การเตรียมตัวก่อนเลเซอร์เหงือก
ก่อนวันทำเลเซอร์เหงือก ทันตแพทย์จะนัดตรวจสุขภาพฟัน เตรียมความพร้อมช่องปาก ดังนี้
- เอกซ์เรย์ (X-Ray) ช่องปาก
- มาร์กจุดที่จะใช้เลเซอร์ผ่าตัด
- อธิบายแผนการรักษาเพื่อให้ผู้รับบริการได้ทราบเพื่อการเตรียมตัวก่อนวันผ่าตัดเหงือก
- หากมีโรคประจำตัวหรือมียาทานประจำ ควรปรึกษาทันตแพทย์ทุกครั้ง
- หากเป็นคนที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ควรทำความสะอาดช่องปากให้สะอาดเป็นพิเศษ
ขั้นตอนการเลเซอร์เหงือก
การเลเซอร์เหงือกจะใช้เวลาประมาณ 1–2 นาทีต่อซี่ ขึ้นอยู่กับลักษณะเหงือกที่ต้องผ่าตัดออก และก่อนเริ่ม ทันตแพทย์จะตรวจสภาพเหงือกเบื้องต้นเพื่อประเมินความเหมาะสม หากมีจุดที่ต้องเลเซอร์เหงือกหลายจุด จะแบ่งทำเฉพาะจุดและนัดหมายเลเซอร์ในครั้งต่อไป สำหรับขั้นตอนการเลเซอร์เหงือกมีดังนี้
- ทันตแพทย์จะฉีดยาชาบริเวณเหงือกที่ต้องการผ่าตัด
- ทันตแพทย์จะใช้เลเซอร์ตัดเหงือกออก
- ในระหว่างการใช้เลเซอร์ผ่าตัดเหงือก จะใช้เครื่องดูดน้ำลายไปควบคู่กัน
- หลังจากตัดเหงือกไปบางส่วน ทันตแพทย์จะใช้เลเซอร์ในการตกแต่งเหงือกให้สวยงาม
- เมื่อผ่าตัดเสร็จแล้ว จะใช้ผ้าก๊อตปิดที่แผล
หลังทำเลเซอร์เหงือก หากขอบกระดูกเดิมไม่ได้ถูกแก้ไข จะทำให้เหงือกสามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้ ทั้งนี้การงอกใหม่ของเหงือกขึ้นอยู่กับพันธุกรรม โครงสร้างขอบกระดูก และการดูแลรักษาสภาพฟันของแต่ละคน หากคุณดูแลรักษาสภาพฟันอย่างถูกต้อง ผลของเลเซอร์เหงือกจะอยู่นานมากขึ้น การผ่าตัดเหงือกด้วยเลเซอร์ มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำและไม่เป็นอันตราย เนื่องจากใช้เวลาไม่นาน ไม่มีการเย็บแผลและไม่ทำให้เกิดเลือดซึม อีกทั้งรอยแผลยังมีขนาดเล็ก สามารถหายเองได้ภายใน 2 สัปดาห์
การผ่าตัดเส้นรั้ง หรือ ฟีนุ่ม (Frenum)
ฟีนุ่ม (Frenum) หรือเนื้อยึดในช่องปาก เป็นแถบเนื้อเยื่อที่ยึดจากร่องปากมายังสันเหงือก โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องผ่าตัดออก แต่ถ้าฟีนุ่มสร้างปัญหาอื่นๆ ให้ช่องปาก เช่น แรงดันของพังผืดเหงือกทำให้ฟันหน้าห่าง ฟีนุ่มขัดขวางการใส่ฟันเทียม มีปัญหาการพูดและการออกเสียงไม่ชัดเพราะพังผืดยึดใต้ลิ้นสั้น ฟีนุ่มทำให้ทำความสะอาดฟันยากขึ้น แพทย์อาจพิจารณาให้ผ่าตัดออก
วิธีรักษาด้วยการผ่าตัดพังผืดเหงือก
- แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่
- ผ่าตัดพังผืดและเลาะเนื้อเยื่อเส้นใย
- เย็บแผล
- ทันตแพทย์จะนัดตัดไหม 7 วัน หลังจากการผ่าตัด หรือ หากทำการตัดด้วยเลเซอร์ ก็ไม่จำเป็นต้องเย็บแผล แต่ต้องเข้ามาให้แพทย์ตรวจซ้ำอีกครั้ง ประมาณ 1 เดือน
ใครที่ควรตัดฟีนุ่ม
ทันตแพทย์มักจะแนะนำให้คนไข้ที่มีฟันหน้าห่าง สาเหตุจากเนื้อยึดริมฝีปากหรือฟีนุ่มเกาะต่ำ ทำให้มีแรงดันจากเอ็นยึดนี้ทำให้ฟันเคลื่อนตัวออกจากกัน ดังนั้นคุณหมอจึงแนะนำให้ทำการจัดฟันร่วมกับการตัดฟีนุ่ม เพื่อเรียงฟันให้ชิดกันได้สนิทและไม่มีปัญหาฟันเคลื่อนออกห่างจากกันอีก
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการผ่าตัดฟีนุ่ม
- หากจัดฟันเสร็จแต่ยังไม่ตัดฟีนุ่ม อาจทำให้ฟันหน้ากลับมาห่างอีกครั้ง
- คนไข้อาจไม่รู้สึกเจ็บปวดระหว่างผ่าตัดเนื่องจากใช้ยาชาเฉพาะที่
ทำไมคนไข้จัดฟันบางคนต้องตัดฟีนุ่ม(Frenum)หรือ เอ็นยึดเหงือก ?
ในบางเคสที่มีฟันห่าง อาจเกิดจากเอ็นยึดร่องเหงือกเกาะสูงผิดปกติ และแยกให้ฟันคู่หน้าห่างออกจากันซึ่งควรทำการศัลยกรรมตัดแต่งในระหว่างจัดฟัน หรือ หลังจัดฟันเสร็จ (ขึ้นอยู่กับเคส) ในเคสที่จำเป็นต้องทำศัลยกรรมตัดแต่งฟีนุ่ม จะทำโดยทันตแพทย์ด้านศัลยกรรมช่องปากซึ่งเป็นการเปลี่ยนตำแหน่งที่เกาะของเอ็นยึดตัวนี้ ให้ห่างจากตัวฟัน ใช้เทคนิคการใส่ยาชาก่อนตัดและมีเย็บแผลหลังตัด หรืออาจจะใช้เป็นเลเซอร์ ซึ่งคนไข้จะไม่มีอาการเจ็บในระหว่างทำและหลังทำการรักษา หากจัดฟันเสร็จเเล้วแต่ยังไม่ตัดฟีนุ่ม อาจส่งผลทำให้ฟันหน้ากลับมาห่างอีกครั้งได้